🧡 XONLY 🧡

LIGHT ZONE => ห้องนั่งเล่น => หัวข้อที่ตั้งโดย: tunappus เมื่อ ธันวาคม 24, 2012, 02:16:54 หลังเที่ยง

ชื่อ: ตำนานสยอง... เพชรสีน้ำเงิน
โดย: tunappus เมื่อ ธันวาคม 24, 2012, 02:16:54 หลังเที่ยง
cr. the shock

(https://xonly8.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.theshockthailand.com%2Fhome%2Fimages%2FLegendaryhorror%2FLegendaryhorror20.jpg&hash=5d02a723bf948c0274ddfb0975e574f06e2dc2ed)

อาถรรพ์... "คำสาปเพชรโฮป"... ((ตำนานสยอง... เพชรสีน้ำเงิน))

เพชร นอกจากจะสวยงาม เป็นสิ่งล้ำค่าหายากแล้ว ยังผูกพันอยู่กับความเชื่อมากมาย เพชร "โฮป" เพชรสีน้ำเงินเข้มเม็ดนี้เป็นอีกหนึ่งตำนานที่ได้รับการกล่าวขานมาเนิ่นนานโฮปไดอามอนด์ ปรากฏตัวเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในปี 1660(บางเอกสารกล่าวว่าปี 1661) ว่ากันว่า เพชรโฮปมาจากดวงตาของเทวรูปในวัดริมแม่น้ำโคเลอรูน (Coleroon) ในอินเดีย เพชรหนัก 112 กะรัต(22.44 กรัม) 3/16 กะรัต ซึ่งนับว่าใหญ่ที่สุดในโลกในบรรดาเพชรสีน้ำเงินในอดีตที่เคยพบมา เพชรเม็ดนี้ ถูกขุดพบในเหมืองคอลเลอร์ (Kollur mine)ในกอลคอนดา เป็นเพชรที่หายากและมีสีน้ำเงินเหมือนสีไพลินเข้ม

 
 
 
 
 
 
 
 
 
(https://xonly8.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.theshockthailand.com%2Fhome%2Fimages%2FLegendaryhorror%2FLegendaryhorror24.jpg&hash=f7ef331d5c1ee794195f767b38ca1c937b28a749)

ชอง-แบปตีส ตาแวร์นีเย (Jean-Baptist Tavernier) พ่อค้าเพชรชื่อดังชาวฝรั่งเศส ซื้อเพชรนี้มา และลักลอบนำเข้าไปยังกรุงปารีสใน ค.ศ. 1668จุดกำเนิดอาถรรพ์อยู่ที่เรื่องเล่าที่ว่า แท้จริงแล้วเพชรถูกขโมยมาจากพระเนตร (บางที่ก็ว่าจากพระนลาฏ) ของเทวรูปนางสีดาซึ่งเป็นร่างที่พระนางลักษมีชายาของพระวิษณุ ที่ชาวอินเดียเคารพนับถืออย่างสูงแปลงลงมาจุติ ทำให้เทพเจ้าไม่พอพระทัย และสาปแช่งมนุษย์ผู้ใดก็ตามที่บังอาจครอบครองสมบัติชิ้นนี้ 
 
อย่างไรก็ตาม มีผู้แสดงความคิดเห็นคัดค้านว่าตำนานนี้ไม่น่าจะเป็นเรื่องจริงเนื่องจากรูปร่างของเพชรดิบสีน้ำเงินไม่เหมาะที่จะเป็นอัญมณีประดับที่พระเนตร(หรือพระนลาฏ) ของเทวรูปเลย แต่ไม่ว่าคำสาปแช่งจะมีอยู่จริงหรือไม่ ข้อเท็จจริงที่จะได้เล่าต่อไปก็ล้วนชี้ให้เห็นว่าบรรดาเจ้าของเพชรอาถรรพ์ต่างก็ประสบชะตากรรมเลวร้ายทั้งสิ้น
 
หลังจากที่ตาแวร์นิเยร์เดินทางกลับประเทศฝรั่งเศส เขาได้ขายเพชรเม็ดใหญ่นี้ให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งราชวงศ์บูร์บอง ในปี 1668 และเมื่ออายุได้ 84 ปีตาแวร์นิเยร์ก็เสียชีวิตอย่างลึกลับที่รัสเซีย โดยมีข่าวลือว่าเขาถูกหมาป่าฉีกร่างจนตาย นับเป็นการสังเวยครั้งแรกให้แก่อาถรรพ์เพชรโฮป
 
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซื้อเพชรจากตาแวร์นิเยร์ ด้วยราคาหลักล้าน เพชรถูกเจียระไนเป็นรูปหยดน้ำรูปทรงสามเหลี่ยมหนัก 67.5 กะรัต โดยนายเปเตออง (Petean)ช่างฝีมือเน้นเรื่องขนาดมากกว่าความงามของน้ำเพชร ครั้งนี้พระองค์ทรงให้ตัดแบ่งเพชรออกเป็น 3 ส่วน ชิ้นแรกนั้นหายสาบสูญไป ส่วนอีกสองชิ้น ชิ้นหนึ่งได้รับการเจียระไนเป็นรูปหัวใจขนาด 67 1/8 กะรัต และใช้เป็นเพชรประดับประจำราชวงศ์ฝรั่งเศสมาอีกนับทศวรรษในชื่อ "เพชรมงกุฎสีน้ำเงิน"(Blue diamond of the crown) หรือ "สีน้ำเงินแห่งฝรั่งเศส"(French Blue) ซึ่งในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นเพชรโฮป
 
ส่วนเพชรชิ้นสุดท้ายไม่มีหลักฐานแน่ชัดแต่เชื่อว่าคือเพชรที่เรียกว่า"บรันสวิก บลู" เคราะห์กรรมของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 กับพระนางมารีอังตัวเน็ตนั้นมีชื่อเสียงเกินพอจนไม่มีอะไรจะให้พูดถึง และมีการกล่าวว่าเจ้าหญิงซึ่งเคยยืมเพชรเม็ดนี้จากพระนางมารีอังตัวเน็ตมาใส่บ่อยๆ ก็ถูกประชาชนรุมฆ่าตายอย่างทารุณ เวลาผ่านไป ความโชคร้ายก็เริ่มคืบคลานเข้าครอบงำสมาชิกราชวงศ์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเพชรทีละน้อย
 
 
เสนาบดีคลัง นิโคลัส ฟูเก ที่เคยหยิบยืมเพชรไปใส่ ในที่สุดก็ต้องออกจากตำแหน่ง ทั้งยังต้องโทษติดคุก แต่ที่ร้ายไปกว่านั้น คือชะตากรรมของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระราชินีมารี อังตัวเนตต์ที่ได้รับสืบทอดเพชรแห่งหายนะทั้งสองพระองค์ถูกตัดพระเศียรด้วยกิโยตินอย่างน่าสยดสยอง ดังที่จารึกอยู่ในประวัติศาสตร์การปฏิวัติอันนองเลือดของฝรั่งเศส ในปีคริสตศักราช 1789และบางส่วนของเพชรมรณะเม็ดนี้ก็ได้หายสาบสูญไปในเหตุการณ์วุ่นวายครั้งนี้ด้วย
 
ปี 1792 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส มีกลุ่มหัวขโมยบุกเข้าปล้นเพชรบางส่วนที่เหลืออยู่จากราชวังที่ปิดตายอยู่ ในระหว่างนี้เพชรถูกตัดให้เล็กลงอีกเพื่อกลบเกลื่อนร่องรอยที่มา จนเหลือขนาด 44.50 กะรัต คนรักของพระองค์ที่ได้รับเพชรเม็ดนี้เป็นของขวัญก็ถูกขับออกจากราชสำนักในภายหลัง เนื่องจากวางแผนจะวางยาพิษราชินี คือ มาดาม เดอ มงเตสปอง (Madam de Montespan)นางกลายเป็นที่เกลียดชังของราชสำนัก เพชรฝรั่งเศสสีน้ำเงินนี้ ได้หายไปในเดือนกันยายน ค.ศ. 1792 หลังจากการปล้นเพชรครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ที่คลังเก็บสมบัติแห่งชาติ (The National Garde Meuble) ใน ค.ศ. 1812
 
ต่อมาในปี 1813 ณ กรุง ลอนดอน นายหน้าค้าเพชรนาม ดาเนียล เอเลียสัน(Daniel Eliason) ได้เพชรสีน้ำเงินเม็ดหนึ่งขนาด 44 กะรัตมาไว้ในครอบครองถึงแม้รูปร่างลักษณะจะไม่เหมือนเดิม แต่ด้วยความงามที่เป็นหนึ่งไม่มีสอง ทำให้ผู้ที่ได้พบเห็นเชื่อกันว่า มันก็คือเพชรน้ำเงินแห่งฝรั่งเศสที่ถูกเปลี่ยนรูปร่างไปเพื่อให้สะดวกต่อการขนย้ายข้ามชาติอย่างลับๆ กล่าวกันว่าผู้ที่ทำการเจียระไนคือ วิลเฮล์ม ฟาลส์ (Wilhlem Fals) นักเจียระไนชาวฮอลแลนด์ก็มีจุดจบอย่างน่าเศร้า ถูกบุตรชายของตนเองขโมยเพชรล้ำค่าไปจนตรอมใจตาย
 
ในขณะที่บุตรคนนั้นในภายหลังก็ได้ฆ่าตัวตายอย่างไม่ทราบสาเหตุ มีหลักฐานจากบางแหล่งว่าพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งราชวงศ์อังกฤษก็เป็นพระองค์หนึ่งที่เคยได้ครอบครองเพชรอาถรรพ์ และทางราชวงศ์ต้องขายมันไปเมื่อสิ้นพระชนม์เพื่อจ่ายหนี้ที่มีอยู่มหาศาล จากนั้นเพชรก็ถูกเปลี่ยนมือไปเรื่อยๆ
 
จนในปีคริสตศักราช 1939 เฮนรี ฟิลิปโฮป (Henry Philip Hope) เจ้าของมรดกบริษัทการธนาคารก็ซื้อเพชรสีน้ำเงินเม็ดนี้ไว้ เพชรมงกุฎแห่งฝรั่งเศสจึงได้กลายเป็นเพชรประจำตระกูลโฮป และได้ชื่อว่า "เพชรโฮป" นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 
ลอร์ดฟรานซิส เพลแฮม คลินตัน โฮป (Lord Francis Pelham Clinton Hope)ซึ่งได้เป็นเจ้าของเพชรต่อจากพ่อของเขา ท้ายที่สุดแล้วกลับล้มละลาย และเพชรก็ได้หายไปอีกครั้งหนึ่ง (ภายหลังเมย์ภรรยาเก่า หย่ากับฟรานซิส และใช้ชีวิตอย่างแร้นแค้นไปจนเสียชีวิต เธอกล่าวว่าเคราะห์ร้ายของตัวเองเป็นเพราะโฮปไดอามอนด์)
หลังจากเพชรถูกขโมย เพชรถูกขายให้กับช่างเจียระไนเพชรในอัมสเตอร์ดัมส์ 
ซึ่งลูกชายของช่างที่ขโมยออกมาขายก็เกิดคลุ้มคลั่งจนฆ่าตัวตายไป
[backcolor=#000000] [/backcolor]ส่วนเอเรียสันนั้นถูกกล่าวว่าตกม้าตายหลังจากซื้อเพชรมาไว้ในครอบครอง
[backcolor=#000000] [/backcolor]
[backcolor=#000000] [/backcolor]
[backcolor=#000000] [/backcolor]
[backcolor=#000000] [/backcolor]
[backcolor=#000000] [/backcolor]
[backcolor=#000000][/backcolor](https://xonly8.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.theshockthailand.com%2Fhome%2Fimages%2FLegendaryhorror%2FLegendaryhorror19.jpg&hash=8c8e17b20ccdad3147669f3eed08311ec4448681)
 
 
ฟรานซิสล้มละลาย จึงขายเพชรต่อให้กับพ่อค้าเพชรในลอนดอนชื่ออดอฟล์ เวลเป็นเงิน 29,000 ปอนด์ ซึ่งอดอฟล์ก็ขายต่อให้กับไซมอน แฟรงเกล พ่อค้าเพชรชาวอเมริกาอีกที อีกครั้งที่เพชรโฮปได้เดินทางไปทั่ว ผ่านพระหัตถ์ของเจ้าชายคานิตอฟสกีแห่งรัสเซีย ซึ่งทรงได้มอบเพชรเป็นของกำนัลแก่นางละครที่โฟลีส์ แบแย (Folies Bergere) คนเดียวกับที่พระองค์ทรงยิงจนเสียชีวิตในอีกไม่กี่วันต่อมา ส่วนตัวเจ้าชายก็ถูกพวกกบฏแทงสิ้นพระชนม์ตามไปติดๆ


ไปจนถึงชาวกรีกคนหนึ่งชื่อ ไซมอน มอนธะริเดส (Simon Montharides)ที่ซื้อเพชรโฮปไว้แต่ก็ต้องประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์จนเสียชีวิตทั้งครอบครัว
 
ถึงปีคริสศักราช 1908 ปีแยร์ การ์ตีเย (Pierre Cartier) พ่อค้าเพชรชาวปารีสได้ขายเพชรโฮปผ่านทางสุลต่านอับดุล-ฮามิด (Abdul - Hamid) เพชรตกเป็นของสุลต่านแห่งตุรกี อับดุล ฮามิดที่ 2 ไม่นาน อาณาจักรออสมันด์ล่มสลายพระองค์จึงถูกเรียกว่าเป็น"ราชาที่ถูกเพชรสาป"
 
แฟรงเกลขายเพชรให้กับโซโลมอน ฮาบิบ ชาวกรีก เป็นเงิน 400,000 ดอลล่าร์ฮาบิบเอาเพชรออกขายในงานประมูลเพื่อหาเงินมาใช้หนี้ และพ่อค้าเพชรโรสนัวก็เป็นผู้ซื้อไปก่อนจะขายให้กับปีแยร์ การ์ตีเย ในปี 1910 เป็นเงิน 550,000 ฟรังและในปลายปีถัดมา นายฮาบิบ ก็เสียชีวิตจากเรืออัปปาง ที่ช่องริโอ
 
(https://xonly8.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.theshockthailand.com%2Fhome%2Fimages%2FLegendaryhorror%2FLegendaryhorror18.jpg&hash=e37942b71f6f7a4f5f86b10acdd68e8139da3046)

เพชรจึงถูกนำมาประมูลขายใช้หนี้ โดยปิแอร์ คาร์เทียร์เป็นผู้ได้เพชรเม็ดในปี 1950 เป็นเงิน 550,000 ฟรัง และปี 1911 จึงได้ตกแต่งเพชรขายให้กับวิลเลียม แมกลีน (William Mclean) ภรรยานายเอ็ดเวิร์ด แมคลีน (EdwardMclean) เจ้าของหนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสต์ แล้วเพชรเม็ดนี้ก็ถูกนำไปที่สหรัฐอเมริกา แมกลีน ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ซื้อเพชรมาด้วยราคา 154,000 ดอลลาร์สหรัฐ ภรรยาของแมกลีนต้องการให้พระทำพิธีขับไล่ผีในเพชรก่อน พิธีนี้จึงได้มีขึ้นและเธอก็ป่าวประกาศว่ามี "ฟ้าผ่าและฟ้าแลบในระหว่างพิธี" ด้วย หลังจากนั้นเธอจึงค่อยสวมใส่เพชรเม็ดนี้ โชคร้ายที่ดูเหมือนคำสาปในเพชรยังคงมีอยู่ ใน ค.ศ. 1918 ลูกชายของแมกลีนอายุ9 ขวบ หลุดรอดจากการดูแลของบรรดาเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และถูกรถคันหนึ่งชนเสียชีวิต แมกลีนจึงดื่มเหล้าและหลังจากนั้นไม่กี่เดือนลูกสาวคนเดียวของพวกเขาก็ปลิดชีพตัวเองโดยใช้ยานอนหลับ
 
ใน ค.ศ. 1949 แฮร์รี วินสตัน (Harry Winston) พ่อค้าเพชรชาวนิวยอร์ก ได้ซื้อเพชรโฮปไปด้วยราคา 180,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำไปเพิ่มชุดสะสมส่วนตัวของเขา แม่ของแมคลีนเสียชีวิตหลังจากซื้อเพชรมาได้ไม่นานนัก ในไม่ช้าคนใช้ 2 คนก็เสียชีวิต ตามด้วยลูกชายวัย 10 ปีของเธออีกคน
 
หลังเหตุการณ์นี้แมกลีนหย่าจากเอ็ดวาร์ด (เจ้าของหนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสต์)ซึ่งตัวเอ็ดวาร์ดเอง หลังจากนั้นก็ป่วยมีอาการทางจิตก็เข้าโรงพยาบาลและเสียชีวิตที่นั่น ลูกสาวเพียงคนเดียวของแมกลีนตาย เนื่องจากทานยานอนหลับเกินขนาด แมกลีนพยายามแก้เคล็ดด้วยการไปอธิษฐานในโบสถ์ แต่ก็ไม่เป็นผลและต้องเสียครอบครัวทั้งหมดไป (ในความเป็นจริง ยังมีหลานอยู่รับกรรมสิทธิ์ต่อ)
 
ใน ค.ศ. 1958 เอดนา วินสตัน (Edna Winston) ได้บริจาคเพชรเม็ดนี้ให้แก่สถาบันสมิทโซเนียนในกรุงวอชิงตัน ซึ่งเป็นที่ที่จัดแสดงเพชรจนปัจจุบันนี้
 
 
 
 
 
 
สถาบันสมิธโซเนียน (อังกฤษ: Smithsonian Institution)
เป็นสถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา และพิพิธภัณฑ์ ที่บริหารจัดการและได้รับทุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและจากผู้บริจาคต่างๆ รวมถึงรายได้การจำหน่ายออกร้านและค่าสมาชิกนิตยสาร หน่วยงานส่วนใหญ่ของสถาบันตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. แต่ยังมีพิพิธภัณฑ์อีกกว่า 19 แห่ง สวนสัตว์ ศูนย์วิจัยและหน่วยงานสนามอีกมากมายอยู่ในเมืองนิวยอร์ก เวอร์จิเนีย ปานามา และที่อื่นๆ มีวัตถุสิ่งของต่างๆ ในความดูแลของพิพิธภัณฑ์มากกว่า 136 ล้านชิ้น
 
สถาบันสมิธโซเนียนก่อตั้งขึ้นตามความประสงค์ของนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เจมส์ สมิธสัน (James Smithson; ค.ศ. 1765-1829) ซึ่งระบุพินัยกรรมว่า หากหลานชายของเขา เฮนรี เจมส์ ฮังเกอร์ฟอร์ด ไม่มีทายาท ก็ให้ยกมรดกทั้งหมดให้แก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเพื่อก่อตั้งองค์กรที่สามารถ "เพิ่มพูนและเผยแพร่ความรู้" ให้แก่มนุษยชาติ ปี ค.ศ. 1835 เมื่อหลานของเขาเสียชีวิตลงโดยไม่มีทายาท ประธานาธิบดีแอนดรูว์ แจ็กสัน จึงรายงานต่อรัฐสภาถึงความจำนงของเขา เงินพินัยกรรมที่เขายกให้แก่รัฐบาลสหรัฐฯ เวลานั้นมีมูลค่า 104,960 ปอนด์ทองคำ หรือ 500,000 เหรียญสหรัฐ (คำนวณตามอัตราเงินเฟ้อในปี ค.ศ. 2005 จะคิดเป็นเงิน 9,235,277 เหรียญสหรัฐ)