🧡 XONLY 🧡

LIGHT ZONE => ห้องนั่งเล่น => หัวข้อที่ตั้งโดย: pakatorn เมื่อ มกราคม 26, 2010, 09:45:20 หลังเที่ยง

ชื่อ: คุณเห็นด้วยไหมกับการติดตั้งสนิฟเฟอร์แก้โหลดหนังเพลงเถื่อน
โดย: pakatorn เมื่อ มกราคม 26, 2010, 09:45:20 หลังเที่ยง
ข่าว: ชาวเน็ต ยี้ สนิฟเฟอร์แก้โหลดหนังเพลงเถื่อน[s:104]




 

ระบุ ทางออกมีมากกว่าการลงทุนติดอุปกรณ์ดักจับข้อมูล ย้ำเรื่องนี้เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลบนอินเทอร์เน็ต และอาจจะไม่ช่วยแก้การละเมิดลิขสิทธิ์ได้...

จากกรณีข่าวที่กระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ประสานขอความร่วมมือจากภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทาง ปัญญา บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นอกจากนั้นคณะทำงานกำกับดูแลและเฝ้าระวังการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนเครือ ข่ายอินเทอร์เน็ต ยังได้มีมติเสนอให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เพิ่มหลักเกณฑ์ในการ ออกใบอนุญาตให้กับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ต้องติดตั้งอุปกรณ์ดักจับข้อมูลบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ต หรือสนิฟเฟอร์ (Sniffer) ไว้ที่อินเทอร์เน็ตเกตเวย์ด้วย เพื่อดักข้อมูลการใช้งานดูว่ามีการดาวน์โหลดโปรแกรม หรือคอนเทนท์ละเมิดลิขสิทธิ์ บนอินเทอร์เน็ต จนกลายเป็นกระแสต่อต้านของคนออนไลน์ และผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการอินเทอร์เน็ต ลามไปยังเว็บไซต์สังคมออนไลน์ เฟซบุ๊ค และทวิตเตอร์ ในหัวข้อ #Thainosniff

นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล บรรณาธิการเว็บไซต์โอเพ่นออนไลน์ และตัวแทนของเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า หากเปรียบเทียบอินเทอร์เน็ต คือ ถนนทางหลวง สนิฟเฟอร์ไม่ใช่แค่การตั้งด่านตรวจจับ แต่เป็นการตั้งกล้องสอดแนมไปในรถทุกคันที่ใช้ถนน แม้ว่าสนิฟเฟอร์ไม่ใช่เครื่องมือที่เลวร้ายเมื่อมองที่เจตนาการลดละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญา แต่การสอดแนมแบบนี้ก็ยากที่จะยอมรับได้ โดยจำเป็นถึงขนาดต้องสงสัยคนทั้งประเทศเลยหรือ ที่ผ่านมามีแต่ประเทศจีน และสหรัฐอเมริกาที่ใช้การสนิฟเฟอร์ เพื่อเฝ้าระวังกลุ่มผุ้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้าย หรือ เหตุผลด้านความมั่นคงเป็นหลัก

ตัวแทนของเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวต่อว่า บางทีเรื่องนี้อาจเป็นการลงทุนที่ได้ไม่คุ้มเสีย เพราะต้นทุนในการติดตั้งอุปกรณ์ที่มีมูลค่ามหาศาลกว่า 8 หลัก การที่ประชาชนสูญเสียความเป็นส่วนตัว ไอเอสพีแบกรับภาระต้นทุน ความเร็วอินเทอร์เน็ตช้าลง หากทาง กทช.รับรองแล้วออกประกาศออกมาจริง คงต้องมีการยื่นเรื่องให้ทบทวนในการติดตั้งเครื่องมือดักจับข้อมูลกันอีก ครั้ง เชื่อว่าประเด็นการต่อต้านสนิฟเฟอร์ จะทำให้ประชาชนทั่วไปรู้และตระหนักว่าการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตปลอดภัยแค่ ไหน

นางสาวสฤณี กล่าวอีกว่า ทางที่ดีทั้งภาครัฐและเอกชนมาช่วยกันรณรงค์สร้างจิตสำนึก ในการใช้อินเทอร์เน็ตที่ถูกต้องให้ผู้บริโภค เพิ่มช่องทางในการแจ้งเบาะแสของเว็บไซต์ให้ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ที่ละเมิด ลิขสิทธิ์ โดยเราควรมองหาทางออกที่ไม่ละเมิดสิทธิ์ของประชาชน และไม่ตั้งข้อสงสัยคนทั้งประเทศแบบนี้ แต่พยายามชี้ถึงประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต กระจายความเข้าใจที่ถูกต้องให้ออกไปแบบกว้างขวาง ทั้งนี้แม้เหตุผลของรัฐที่ต้องการดักข้อมูลบางอย่าง ไม่ได้เข้ามาดูข้อมูลทั้งหมด แต่การที่ข้อมูลตกอยู่ในมือภาครัฐ  นั่นก็เป็นความเสี่ยงของผู้ใช้งาน

ด้าน นายศุภเดช สุทธิพงศ์คณาสัย ผู้เชี่ยวชาญด้านอินเทอร์เน็ต สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย กล่าวว่า เนื่องจาก Sniffer คือ โปรแกรมที่แฮกเกอร์ ใช้ดักอ่านข้อมูลที่วิ่งไป-มาบนระบบเน็ตเวิร์ค หรือ Traffic โดย Sniffer จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และคอยดักฟังข้อมูลในเครือข่าย เพื่อนำมาวิเคราะห์หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งในการนำข้อมูลไปใช้ ประโยชน์ หากมีการสนิฟเฟอร์จริงการใช้อินเทอร์เน็ตในอนาคตคงต้องระมัดระวังกันมาก จะโพสต์ จะพิมพ์อะไรลงไปต้องคิดกันมากขึ้น ขณะเดียวกัน เหล่าแฮกเกอร์ก็อาจมารวมตัวกันเพื่อถล่มหน่วยงานภาครัฐก่อนจะดักข้อมูลได้ เพราะไปยั่วยุ

ผู้เชี่ยวชาญด้านอินเทอร์เน็ต กล่าวอีกว่า เรื่องการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์เถื่อน ต้องทำความเข้าใจกับผู้ใช้งานว่า ยังมีโปรแกรมฟรีแวร์เป็นทางเลือกให้ดาวน์โหลดเอาไปใช้งาน โดยโปรแกรมเหล่านี้มีคุณสมบัติ และการทำงานไม่ต่าง หรือดีกว่าโปรแกรมลิขสิทธ์เสียอีก อาทิ ชุดโปรแกรมสุริยันจันทราของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า ที่ทำแผ่นซีดีแจกออกมา โดยจำเป็นที่ต้องลบค่านิยมการใช้ซอฟต์แวร์แบบผิดๆ หากจะแก้เรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งนี้ที่ผ่านมาเมืองไทยไม่เคยปลูกฝังเรื่องการใช้โปรแกรมลิขสิทธิ์เลย ตั้งแต่ระดับโรงเรียน คนไม่รู้ว่าการใช้ซอฟต์แวร์นั้นมีค่าใช้จ่าย

ส่วน นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ อุปนายกสมาคมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย กล่าวว่า ขณะนี้ เทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ภาครัฐจำเป็นต้องเข้าใจ และ คนทั่วไป ต้องเข้าใจกระบวนการของรัฐ บางครั้งการทำงานอาจไม่รอบด้าน หรือไม่เท่าทัน ดังนั้น ทั้งรัฐและเอกชน ควรหันหน้ามาคุยกัน เพื่อร่วมกันพิจารณาว่ามีทางอื่น หรือไม่ นอกจากการสนิฟเฟอร์ข้อมูล เชื่อว่าในหน่วยงานรัฐยังมีคนเก่งๆ มากมายยินดีเข้ามาทำงาน ทั้งนี้หากรัฐบาลเอาจริงก็คงกันได้ไม่หมด เพราะคนที่ใช้งานก็ยังมีวิธีหลบหลีกได้อยู่ดี

เห็นว่ามีประโยนช์เลยเอามาให้อ่านกัน[s:120] เครดิต ไทยรัฐ[s:104]
แล้วคุณละเห็นด้วยไหม[s:179]