🧡 XONLY 🧡

LIGHT ZONE => ห้องนั่งเล่น => หัวข้อที่ตั้งโดย: armag เมื่อ มีนาคม 27, 2010, 01:41:40 หลังเที่ยง

ชื่อ: RMS-TITANIC
โดย: armag เมื่อ มีนาคม 27, 2010, 01:41:40 หลังเที่ยง
แก้ไขล่าสุด armag เมื่อ 2010-3-27 14:13

อาร์เอ็มเอส ไททานิก (RMS Titanic) คือ ชื่อเรือเดินสมุทรของบริษัทไวท์ สตาร์ ไลน์ (White Star Line) เริ่มก่อสร้างเมื่อ ค.ศ. 1909 สร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ. 1911 ที่เบลฟาสท์, ไอร์แลนด์ พร้อม ๆ กับเรือคู่แฝดที่ชื่อว่า อาร์เอ็มเอส โอลิมปิก (RMS Olympic) ซึ่งเบากว่าไททานิกถึง 1,000 ตัน[6] ซึ่งครั้งหนึ่งเรือคู่นี้เคยเป็นเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก
(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/0/0f/Titanic2.jpg)
ในยุคช่วงประมาณ 100 ปีก่อน ยังไม่มีเครื่องบิน การเดินทางข้ามมหาสมุทรไปไกลๆ ต้องใช้เรือเท่านั้น จึงเกิดสายการเดินเรือขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ด้วยอุดมการณ์การเดินเรือที่ต่างกัน บ้างก็เน้นความใหญ่ บ้างก็เน้นความหรูหรา บ้างก็เน้นความประหยัด บ้างก็เน้นความเร็ว บ้างก็เน้นการรักษาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ซึ่งมีสถิติมากมาย ที่สายการเดินเรือต่างๆ ต้องพยายามแข่งขันกัน เพื่อครองสถิติให้ได้มากๆ
ในปี ค.ศ. 1858 สายการเดินเรือ "อีสเทิร์น สตีม เนวิเกชั่น คอมปานี" (Eastern Steam Navigation Company) ได้สร้างเรือยักษ์ เอสเอส เกรทอีสเทิร์น (SS Great Eastern) ซึ่งเป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกในยุคนั้น SS Great Eastern มีขนาด 18,915 ตัน ใหญ่กว่าเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดลำก่อนหน้ามันมากกว่า 4.5 เท่า แต่ใช้ได้เพียง 9 ปี ก็ต้องเลิกใช้ไปใน ค.ศ. 1867 และหลังจากสูญเสียมันไปนานกว่า 30 ปี ยังไม่มีเรือโดยสารลำใดที่ใหญ่กว่า SS Great Eastern
แต่ใน ค.ศ. 1901 สายการเดินเรือไวต์สตาร์ไลน์ ได้ตัดสินใจสร้างเรือโดยสารที่ใหญ่กว่าเรือ SS Great Eastern เป็นลำแรก โดยจัดทำเป็นโครงการสร้างเรือใหญ่ 4 ลำ
เรือทั้งสี่จะมีขนาดกว่า 20,000 ตัน เน้นการออกแบบภายในเรือที่สะดวกสบาย โดยเรือลำแรกของโครงการดังกล่าว คือเรือ อาร์เอ็มเอส เคลติค (ค.ศ. 1901) (RMS Celtic) ปล่อยลงน้ำครั้งแรกในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1901 กลายเป็นเรือใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยขนาด 21,035 ตัน ตามมาด้วยเรือ อาร์เอ็มเอส เซดริก (RMS Cedric) แต่มันไม่ได้เป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ใน ค.ศ. 1905 เอสเอส อเมริกา (SS America) ของสายการเดินเรืออื่นสร้างเสร็จ แย่งตำแหน่งเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกไปจาก Celtic แต่อยู่ในตำแหน่งได้ไม่ทันจบปี ค.ศ. 1905เรือโดยสารลำที่ 3 ของโครงการสร้าง 4 เรือยักษ์ ชื่อ อาร์เอ็มเอส บอลติก (ค.ศ. 1903) (RMS Baltic) สร้างเสร็จในปีเดียวกัน ชิงตำแหน่งเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกกลับคืนสู่สายการเดินเรือไวต์สตาร์ไลน์ได้ 1 ปี ก่อนจะถูกสายการเดินเรืออื่นแย่งตำแหน่งไปอีก
และเรือลำสุดท้ายของโครงการ สร้างเสร็จใน ค.ศ. 1907 คือเรือ อาร์เอ็มเอส เอเดรียติก (RMS Adriatic) แต่เรือลำนี้ไม่ได้เป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก
สายการเดินเรือไวต์สตาร์นั้น เชื่อเสมอว่าคนทั่วไปสามารถโดยสารกับเรือได้นาน ถ้าเรือนั้นมี ความเพรียบพร้อมในการบริการที่ดีเยี่ยม สะดวกสบายราวกันอยู่บ้าน และความเร็วเรือที่ได้ต้องใช้เชื้อเพลิงซึ่งเป็นถ่านหินจำนวนมาก ไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม (ไวต์สตาร์เป็นพวกนักอนุรักษ์) ดังนั้นเรือทั้งสี่ลำนี้จึงมีความเร็วบริการประมาณ 16-17 น็อต (29.632-31.484 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ซึ่งความเร็วระดับนี้น้อยเกินกว่าจะสู้เรือของสายการเรืออื่น ๆ ได้
เรือ SS Kaiserin Auguste Victoria (RMS Empress of Scotland (1906)) จากสายการเดินเรืออื่น แย่งตำแหน่งเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกไปจาก RMS Baltic ในปี ค.ศ. 1906
ต่อมา สายการเดินเรือคูนาร์ด (Cunard Line) ซึ่งเป็นคู่แข่งรายสำคัญของไวต์สตาร์ไลน์ ได้ต่อเรือ อาร์เอ็มเอส ลูซิทาเนีย (RMS Lusitania) ต่อขึ้นในอู่ต่อเรือ John Brown ใน ค.ศ. 1907 เป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกแทนเรือ SS Kaiserin Auguste Victoria[3]
และในปีเดียวกัน คูนาร์ดก็สร้าง อาร์เอ็มเอส มอริทาเนีย หรือ อาร์เอ็มเอส มอร์ทาเนีย (RMS Mauretania) ที่ต่อขึ้นในอู่ต่อเรือ Tyneside ได้ออกบริการในปีเดียวกัน เป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกแทน RMS Lusitania ทั้งคู่มีขนาดใหญ่กว่า 30000 ตัน แล่นด้วยความเร็ว 24 นอต (44.448 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เป็นเรือแฝดรุ่นใหม่ของคูนาร์ด ล้ำหน้ากว่าเรือ 4 ลำของไวต์สตาร์ ทั้งด้านความเร็ว และขนาด[3]
ใน ค.ศ. 1907 หรือปีที่เรือแฝดคูนาร์ดออกบริการนั่นเอง บุคคลสำคัญของสายการเดินเรือไวต์สตาร์ได้ร่วมจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำที่บ้าน downshire Belgrave Square ในกรุงลอนดอน เพื่อร่วมกันคิดรูปแบบเรือลำที่ดีกว่าเรือแฝดคู่นั้น และนั่นก็เป็นสาเหตุในการต่อเรือไททานิก
(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/f/fb/Titanic-bow_seen_from_MIR_I_submersible.jpeg/400px-Titanic-bow_seen_from_MIR_I_submersible.jpeg)
สภาพหัวเรือ ณ ปัจจุบัน
(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/1/11/RMS_Titanic_1.jpg)
โปสการ์ด titanic
หลัง RMS Mauretania เป็นเรือโดยสารใหญ่ที่สุดในโลกมาราว 4 ปี เรือลำแรกในโครงการต่อเรือ 3 ลำของไวต์สตาร์ไลน์ (เป็นการต่อเรือขนาดใหญ่ 3 ใบเถา เน้นรูปแบบการบริการของสายการเดินเรือที่หรูหราเป็นหลักความเร็วเป็นรอง) ชื่อ RMS Olympic สร้างเสร็จใน ค.ศ. 1911 มีขนาดใหญ่กว่าเรือ RMS Mauretania มากกว่า 40% ทำให้กลายเป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก และต่อมา เรือลำที่สองในโครงการ ชื่อ RMS Titanic สร้างเสร็จใน ค.ศ. 1912 เป็นเรือโดยสารใหญ่ที่สุดในโลกแทนโอลิมปิก[3]
และเรือลำสุดท้ายของโครงการ ตอนแรกจะใช้ชื่อ อาร์เอ็มเอส ไจแกนติก หรือ อาร์เอ็มเอส ไกแกนติก (RMS Gigantic) แต่ว่า มันสร้างเสร็จใน ค.ศ. 1914 ภายหลังการล่มของไททานิก โดยคาดว่าจะใช้รับส่งผู้โดยสารเพื่อข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก แต่ก็เป็นแค่ความฝันเพราะตรงกับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 พอดี ส่งผลให้ใน ค.ศ. 1915 มันถูกเปลี่ยนจากเรือสำราญเป็นเรือพยาบาล รับ-ส่ง ทหารในต่างแดนในคาบสมุทรเมดิเตอร์เรเนียน แทน และเปลี่ยนชื่อเป็น เอชเอ็มเอชเอส บริแทนนิก (HMHS Britannic) แม้บริแทนนิกจะใหญ่กว่าไททานิกกว่า 1,800 ตัน แต่บริแทนนิก ไม่มีโอกาสได้เป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพราะสายการเดินเรือฮาเป็ก (Hapag หรือ Hamburg Amerika Line) จากเยอรมนี ได้สร้างเรือ SS Imperator (RMS Berengaria ของสายการเดินเรือคูนาร์ด) ที่ใหญ่กว่าบริแทนนิก เสร็จก่อนบริแทนนิก แต่เป็นที่น่าเศร้าเพราะในปี 1916 เรือได้อัปปางลงในทะเลอีเจียน เนื่องจากโดนทุ่นระเบิดจากเรือดำน้ำฝ่ายเยอรมัน ที่ยังหลงเหลือจากการกู้ระเบิดในเส้นทางดังกล่าว จึงส่งผลให้เรือเสียหายหนักและอัปปางลงในระยะเวลา 55 นาที หลังการเดินทางเพียง 6 ครั้ง เท่านั้น
ในการออกแบบขั้นต้นเรือทั้ง 3 ลำมีโครงสร้างคล้ายคลึงกัน และทั้งสามมีขนาดใหญ่กว่าเรือแฝดของคูนาร์ด ขับเคลื่อนด้วย 2 ใบจักร 2 เครื่องยนต์กระบอกสูบ แต่ต่อมาเพิ่มเครื่องยนต์เทอร์ไบน์อีกกลายเป็น 3 ใบจักร เนื่องจากเรือรุ่น 4 ลำก่อนมีเพียง 2 เครื่องยนต์สามารถทำความเร็วได้ต่ำ ในขนาดที่เรือคู่แข่งมี 4 เครื่องยนต์ เรือทั้งสามมีเสากระโดงเรือ 2 หรือ 3 แห่ง ปล่องไฟ 3 ปล่อง แต่ต่อมาเพิ่มเป็น 4 ให้เท่ากับจำนวนปล่องบนเรือ Mauretania และ Lusitania เพื่อให้เรือดูสมดุล (และหลอกว่ามีกำลังขับเคลื่อนสูง) โดย 3 ปล่องแรกจะไว้ใช้ระบายอากาศจากเครื่องยนต์ แต่ปล่องสุดท้ายไว้ใช้ระบายอากาศภายในเรือ[3]
ส่วนเรือไททานิกนั้น ก็มิได้ใหญ่โตถึงขนาดว่าไม่มีใครทำลายสถิติมันได้ลง ต่อให้มันไม่จม มันก็จะเสียตำแหน่งเรือสำราญที่ใหญ่ที่สุดในโลกให้กับ RMS Olympic เพราะภายหลังไททานิกจม ในปีเดียวกันนั้น มีการนำเรือโอลิมปิกไปต่อเติมซ่อมแซมจนมีขนาดใหญ่กว่าไททานิก 110 ตัน
หลังจากนั้น ตำแหน่งเรือสำราญที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็เปลี่ยนมือไปเรื่อยๆ จนในปัจจุบัน เรือสำราญที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นเรือแฝด 3 ลำ คือ MS Liberty of the Seas , MS Freedom of the Seas และ MS Independence of the Seas ซึ่งมีขนาดถึง 154,407 ตัน ใหญ่กว่าไททานิกถึง 3.333 เท่า
แต่อย่างไรก็ตาม ไททานิกก็เป็นที่โดดเด่นในประวัติศาสตร์มากกว่า
(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/8/8e/TitanicDeckPlans.jpg/397px-TitanicDeckPlans.jpg)
(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/d/dc/GSC3.jpg) (ของจริง)
ชื่อเต็ม: Royal Mail Steamer Titanic[1]
เจ้าของ: บริษัทไวท์ สตาร์ ไลน์[1]
ต่อขึ้นที่: อู่ต่อเรือ ฮาร์แลนด์ แอนด์ วูลฟฟ์ ในควีนส์ ไอแลนด์ เมืองเบลฟัสต์ ไอร์แลนด์เหนือ ประเทศอังกฤษ[1]
งบประมาณ: 1.75 ล้านปอนด์ (ในปี ค.ศ. 1912) หรือประมาณ 650-900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ในยุคปัจจุบัน)[8]
จดทะเบียนที่: ลิเวอร์พูล, อังกฤษ, สหราชอาณาจักร
วางกระดูกงู: 31 มีนาคม ค.ศ. 1909[1]
ดำเนิการก่อสร้างตัวเรือ: กันยายน ค.ศ. 1909 - พฤษภาคม ค.ศ. 1911
ปล่อยลงน้ำ: 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1911[1] เวลา 10.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น
พิธีตั้งชื่อเรือ: ไม่มี
ตกแต่ง ติดตั้งอุปกรณ์ภายใน : 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1911 - 1 เมษายน ค.ศ. 1912 ดำเนินการโดย บริษัท ทอมป์สัน แอนด์ ซันส์ จำกัด ในควีนส์ ไอแลนด์ เมืองเบลฟัสต์ ไอร์แลนด์เหนือ ประเทศอังกฤษ
ทดสอบเรือ: 1 เมษายน ค.ศ. 1912- 8 เมษายน ค.ศ. 1912[11]
เส้นทางประจำเที่ยวเรือ: เบลฟัสต์ - ควีนส์ทาวน์ (ท่าเรือโคบห์) - แชร์บรูก - เซาแธมป์ตัน - นิวยอร์ก
ประสบอุบัติเหตุ: วันเสาร์ที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1912 เวลา 23.40 น. ตามเวลาท้องถิ่น[1]
อับปางลง: วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 เวลา 02.20น.[1]
[แก้]สัดส่วนเรือ
ความยาว: ความยาวตลอดลำ 883 ฟุต 9 นิ้ว ยาวกว่าเรือโอลิมปิก 3 นิ้ว[9] โดยมีความยาวแนวน้ำ 710 ฟุต 5 นิ้ว[8]
ความกว้าง: วัดที่แนวน้ำกลางลำเรือ 92 ฟุต 6 นิ้ว
กินน้ำลึก: วัดจากกลางท้องเรือถึงแนวน้ำ 59 ฟุต 2 นิ้ว
ความสูง: วัดจากแนวน้ำถึงดาดฟ้าเรือบด 60ฟุต 6 นิ้ว และวัดจากกระดูกงูถึงปลายปล่องไฟ 175 ฟุต
ขนาด: 46,439 ตันเนจ, ระวางขับน้ำ 52,310 ตัน[8]
[แก้]ลักษณะทั่วไป
ปล่องไฟ: 4 ปล่อง ติดหวูดไอน้ำทุกปล่อง ใช้เส้นเคเบิลตรึงปล่องละ 12 เส้น โดยแต่ละปล่องทำมุม 3.27 องศาจากแนวตั้งฉาก ใช้งานจริง 3 ปล่องแรก ปล่องสุดท้ายให้ระบายอากาศและทำให้ดูสมดุล
การทาสี: ปลายปล่องไฟทาสีดำ ตัวปล่องทาสีเหลืองอ่อนเนื้อลูกวัว ซุเปอร์สตรัคเจอร์ทาสีขาวงาช้าง ตัวเรือทำสีดำ โดยมีแถบสีทองคาดกลางระหว่างตัวเรือและซุเปอร์สตัคเจอร์ตลอดความยาวเรือ ท้องเรือใต้แนวน้ำทางสีแดง ใบจักรสีทองบรอนซ์
หัวรือ: ออกแบบให้มีที่ตัดน้ำแข็งทางหัวเรือ โดยมี สมอเรือ 2 ตัว ปั่นจั่น 1 ตัว เสากระโดงเรือ 1[1] ต้องและช่องขนสินค้า
ท้ายเรือ: หางเสือ 1 ตัว, สะพานเทียบเรือ, ปั้นจั่นยกสินค้า 2 ตัว
ประเภทวัสดุสร้างเรือ: เฟรม ทำจาก เหล็ก, โครงสร้างภายใน ทำจาก ไม้, เปลือกเรือภายในและภายนอก ทำจาก เหล็กกล้า พื้นดาดฟ้าเรือ ปูด้วย ไม้สัก ปล่องไฟ ทำจาก เหล็กกล้า, เสากระโดงเรือ ทำจาก ไม้สนสพรูซ (spruce) ท้องเรือ 2 ชั้น มีปีก stabilizer และมีเข็มทิศขนาดใหญ่บนดาดฟ้าชั้น Sun Deck ระหว่างปล่องไฟหมายเลข 2 และ 3
ดาดฟ้า: 10 ชั้น; 7 ชั้นสำหรับผู้โดยสาร, 3 ชั้นสำหรับลูกเรือ โดยมี Sun deck, Boat (ชั้น เอ), Promenade (ชั้น บี), decks ซี-จี, ชั้นท้องเรืออีก 2 ชั้น (เป็นพื้นที่สำหรับหม้อน้ำ, เชื้อเพลิง, เครื่องยนต์, ห้องผนึกน้ำ, ประตูกั้นน้ำ หรือพื้นทีสำหรับเพลาใบจักร เป็นต้น)
ตำแหน่งห้องวิทยุสื่อสาร: ชั้นเรือบด กราบซ้าย ถัดจากห้องสะพานเดินเรือ
ตะเกียงส่งสัญญาณ: 2 ดวง ติดตั้งทั้งกราบซ้ายและขวา บริเวณปีกสะพานเดินเรือชั้นเรือบด
สมอเรือ: 2 ตัว ตำแหน่งกราบซ้ายและขวาหัวเรือ หนัก 27 ตัน/ตัว
ปั้นจั่นไฟฟ้า: 9 ตัว โดยมี 1 ตัว ที่หัวเรือสำหรับสมอเรือ; 2 ตัว บนชั้น ซี ด้านหน้าของซุเปอร์สตรัคเจอร์ ใกล้กับช่องสินค้า (Well deck); 2 ตัว บนชั้น บี ค่อนไปทางท้ายเรือ; 2 ตัว บนชั้น ซี ด้านหลังของซุเปอร์สตรัคเจอร์ ใกล้กับช่องสินค้า (Well deck)
โกดังสินค้า: 9 แห่ง (ห้องมาตรฐาน 6 ห้อง ห้องแช่แข็ง 2 ห้อง และห้องไปรษณีย์ ห้อง)
ลิฟต์สินค้า: 2 ตัว (ตัวแรกจากชั้น เอ ไป ชั้น ดี ตัวที่สอง จากชั้น ดี ไปชั้น จี และลงท้องเรือโดยบันได)
ฝากั้นน้ำ: 15 แนวแบ่งเป็น 16 ห้อง พร้อมประตูประตูผนึกน้ำทำงานด้วยไฟฟ้า
ความจุผู้โดยสาร: แบบพักเดี่ยว 1,324 คน (ชั้นหนึ่ง 329 คน ชั้นสอง 285 คน และชั้นสาม จำนวน 710 คน) และสามารถปรับเปลี่ยนเป็นพักแบบคู่ในบางห้องได้เป็น 2,435 คน ( ชั้นหนึ่ง 735 คน, ชั้นสอง 674 คน และชั้นสาม 1,026 คน )
ความจูสูงสุด: 3,547 คน
เสื้อชูชีพ: 3,560 ชุด
ห่วงชูชีพ: 49 ห่วง
เรือชูชีพ: เรือบด 20 ลำ ความจุ 1,178 ชีวิต เป็นเรือไม้ 14 ลำ (ขนาดลำเรือยาว 30 ฟุต กว้าง 9 ฟุต 1 นิ้ว สูง 4 ฟุต จุ 65 ชีวิต) เรือเร็ว (Cutter) 2 ลำ (ขนาดลำเรือยาว 25 ฟุต 2 นิ้ว กว้าง 7 ฟุต 2 นิ้ว สูง 3 ฟุต จุ 40 ชีวิต) เรือผ้าใบ 4 ลำ (ขนาดลำเรือยาว 27 ฟุต 5 นิ้ว กว้าง 8 ฟุต สูง 3 ฟุต จุ 47 ชีวิต)
ลูกเรือ: 899 คน
[แก้]พนักงานประจำเรือ
กัปตันเรือ: เอ็ดเวิร์ด จอห์น สมิธ

ภายในเรือไททานิก จะกั้นอาณาเขตไว้อย่างชัดเจน ว่าบริเวณใด เป็นส่วนของผู้โดยสารชั้นใด และผู้โดยสารในเรือจะต้องอยู่ในบริเวณที่เป็นชั้นของตนเองเท่านั้น
[แก้]ชั้นสาม (Third class)
ชั้นนี้ เป็นชั้นที่ราคาตั๋วต่ำ โดยชั้นนี้ จะแบ่งออกได้หลายแบบ ตามลักษณะห้อง บริการ และสิทธิต่างๆ บนเรือ โดยราคาตั๋วชั้นสามที่ถูกสุด ขายในราคา 3 ปอนด์ (ประมาณ 172 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 6,000 บาทในปัจจุบัน) ส่วนราคาตั๋วชั้นสามที่แพงสุด ขายในราคา 8 ปอนด์ (ประมาณ 460 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 16,000 บาทในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นราคาที่นับว่าประหยัดมาก เมื่อเทียบกับการเดินทางทางทะเลด้วยระยะเวลากว่าสัปดาห์ แต่การที่ราคาประหยัดนั้น ก็ทำให้เกิดผลเสียตามมา
บริเวณของผู้โดยสารชั้นสามส่วนใหญ่จะอยู่ในชั้น F กับชั้น G ผู้โดยสารชั้นประหยัด สิทธิหลายอย่างถูกจำกัด เช่น สิทธิในการใช้ลิฟต์ สิทธิในการขึ้นชั้นดาดฟ้า
ห้องของชั้นสามมีตั้งแต่ห้องขนาด 2 เตียงนอน ไปจนถึง 8 เตียงนอน ห้องพักแม้จะแคบ แต่สะอาดเรียบง่าย และดูสว่างสดใส และการที่อยู่ในท้องเรือลึกๆ ทำให้อากาศอุ่นสบายกว่าอาณาเขตชั้นอื่น
ห้องของชั้นสามที่มีราคาถูกที่สุด (3 ปอนด์) จะอยู่ท้ายเรือ เพราะห้องเหล่านั้นจะอยู่ใกล้ใบจักรขับเคลื่อนเรือมากๆ ดังนั้นในบริเวณนั้น จะโคลงเคลงและสั่น ผู้ที่ไม่ชินกับทะเล จะเกิดอาการเมาเรือได้ถ้าไปอยู่ในบริเวณนั้นนานๆ (ถึงแม้จะเป็นเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็ตามที)
ชั้นสอง (Second class)

ดาดฟ้าของผู้โดยสารชั้นสอง
ชั้นนี้มีแบบเดียว ราคาตั๋วแบบเดียว โดยราคาตั๋วชั้นสองขายในราคา 12 ปอนด์ (ประมาณ 690 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 24,000 บาทในปัจจุบัน)
บริเวณของผู้โดยสารชั้นสองส่วนใหญ่ จะอยู่ในชั้น E ผู้โดยสารชั้นสองจะได้รับความหรูหราพอๆ กับโรงแรมทั่วๆไป แม้จะยังไม่หรูหราเท่าชั้นหนึ่ง ห้องของชั้นสองมี 2 ขนาด คือขนาด 2 กับ 4 เตียงนอน ภายในห้องไม่แออัด มีเฟอร์นิเจอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้น โซฟาพักผ่อนในห้องส่วนตัว
ชั้นหนึ่ง (First Class)

ห้องรับแขกของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง
คลาสนี้มีสองแบบคือแบบห้องธรรมดากับแบบห้องชุดพิเศษ
แบบธรรมดาจะขายตั๋วในราคา 870 ปอนด์ (50,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1,720,000 บาทในปัจจุบัน) ผู้โดยสารชั้นนี้ จะได้รับความหรูหราเต็มพิกัด
บริเวณของผู้โดยสารชั้นหนึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในชั้น A , B , C, D และบางส่วนของชั้น E ห้องพักแบบธรรมดายังมีการจัดระดับแยกอีก 2 แบบอีกด้วย คือ แบบห้องสูท (ห้องชุด) บนชั้น B และ C ผู้โดยสารจะได้รับความหรูหรามากกว่าโรงแรมแทบทั้งหมดในอังกฤษหรือในอเมริกา ผู้โดยสารสามารถเลือกลักษณะห้องพักของตนได้ เพราะห้อง First Class ถูกเตรียมไว้มากกว่า 10 รูปแบบ ตั้งแต่สไตล์เรเนอซองส์ , ดัตช์โบราณ , ดัตช์สมัยใหม่ , รีเจนซี่, หลุยส์, อดัมส์ ฯลฯ ที่เพิ่มส่วนพื้นที่ห้องนั่งเล่นในตัว ห้องแต่งตัว
และห้องพักชั้นหนึ่งแบบธรรมดาจะมีการแตกแต่งแบบเรียบง่าย อีกทั้งขนาดห้องเล็กกว่า ซึ่งทุกห้อง ถูกผสมผสานเข้ากับความเป็นสมัยใหม่ได้ลงตัวมาก ทุกห้องมีเทคโนโลยีทำความร้อนจากไฟฟ้าและหลอดไฟฟ้า โดยห้องพักแบบนี้พบตามชั้น A ถึง D และมากสุดชั้น E
แต่ชั้นหนึ่งแบบห้องชุดพิเศษ (Millionair Suite) นั้น ราคาสูงถึง 4,350 ปอนด์ (250,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 8,600,000 บาทในปัจจุบัน) คุณภาพที่ได้รับก็สมราคา เพราะผู้โดยสารที่ซื้อตั๋ว จะมีห้องนอน 2 ห้อง ห้องนั่งเล่นพักผ่อนส่วนตัว ห้องแต่งตัว ห้องน้ำส่วนตัว โดยห้องพัก Millionair Suite บนเรือไททานิกมีอยู่ 4 ห้องโดย 2 ห้องแรกบนชั้น B จะมีระเบียงชมทะเลส่วนตัวขนาดยาว 50 ฟุต และอีก 2 ห้องบนชั้น C
ลางร้ายก่อนเกิดเหตุ

Futility
ใน ค.ศ. 1898 (พ.ศ. 2441) หรือ 14 ปีก่อนจะเกิดโศกนาฏกรรมไททานิก นักเขียนนิยายชาวอเมริกัน ชื่อ มอร์แกน โรเบิร์ทสัน (Morgan Robertson) ได้แต่งนวนิยายมาเรื่องหนึ่ง ชื่อเรื่องว่า Futility[15]
เป็นเรื่องราวเกียวกับเรือลำหนึ่ง ที่ถูกสร้างและออกแบบมาให้เป็นเรือลำที่ใหญ่ที่สุดในโลก ชื่อเรือว่า ไททัน (Titan) มีความแข็งแกร่งจนกล่าวได้ว่าเรือไม่มีวันจม แต่ได้ชนภูเขาน้ำแข็งจมลง มีผู้เสียชีวิตมากมายเพราะเรือสำรองไม่พอ ซึ่งใกล้เคียงกับเนื้อเรื่องของไททานิก แต่... นิยายเรื่องนี้ ถูกแต่งก่อนเหตุการณ์จริงจะเกิดขึ้น เรือสำราญที่ใหญ่ที่สุดในโลกในช่วงที่นวนิยายตีพิมพ์คือเรือ SS Kaiser Wilhelm der Grosse ซึ่งมีขนาดเพียงร้อยละ 31 (เพียง 14,349 ตัน ในขณะที่ไททานิก 46,329 ตัน) ของเรือไททานิกเท่านั้น แต่ข้อมูลของเรือไททันในจินตนาการของมอร์แกน และข้อมูลจริงของไททานิก ใกล้เคียงกันมาก ดังตาราง[16]
ข้อเปรียบเทียบ   เรือไททานิกจริง   เรือไททันในนิยาย
สัญชาติของเรือ   อังกฤษ   อังกฤษ
ชื่อเล่นของเรือ   Unsinkable (ไม่มีวันจม)   Unsinkable (ไม่มีวันจม)
ขนาดของเรือ   46,329 ตัน   45,000 ตัน
ความยาวของเรือ   269.1 เมตร (882 ฟุต 9 นิ้ว)   243.84เมตร (800 ฟุต)
จุผู้โดยสารสูงสุด   2,435 คน   2,000 คน
จุลูกเรือมากที่สุด   892 คน   1,000 คน
ความเร็วสูงสุด   23 น็อต   24 น็อต
การเดินทาง   จากอังกฤษไปนิวยอร์ก   จากนิวยอร์กไปอังกฤษ
จำนวนห้องเครื่อง   16   19
จำนวนเรือสำรอง   20   24
เวลาชนภูเขาน้ำแข็ง   23 นาฬิกา 40 นาที   ใกล้เที่ยงคืน
สถานที่ชนภูเขาน้ำแข็ง   กลางมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ   กลางมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ
เดือนที่ออกเดินทาง   เมษายน   เมษายน
นอกจากนี้ ยังมีลางร้ายอืกมากปรากฏในช่วงก่อนการเดินทาง จนถึงกับมีผู้พูดไว้ในวันที่ไททานิกออกเดินทางว่า "That ship is going to sink."
[แก้]ออกเดินทาง (เที่ยวแรกและสุดท้าย) [17]


เรือไททานิกพร้อมที่จะถูกปล่อยลงน้ำเป็นครั้งแรก

ใบจักรของเรือไททานิก

ตั๋วเข้าชมพิธีปล่อยเรือไททานิกลงน้ำ


เรือไททานิกและเรือโอลิมปิก
[แก้]วันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1911
เรือไททานิกถูกปล่อยลงน้ำเป็นครั้งแรก[1] โดยใช้เวลาเพียง 62 วินาทีเรือก็ลงสู่น้ำเป็นที่เรียบร้อย ไททานิกที่ต่อเสร็จแล้วได้กลายเป็นพาหนะที่ใหญ่ที่สุดในโลกในยุคนั้น มีความยาว 268 เมตร กว้าง 28 เมตร และความสูงวัดจากท้องเรือถึงสะพานเดินเรือ (สะพานเดินเรือหมายถึงห้องควบคุมเรือที่อยู่บนดาดฟ้า) 30 เมตร พิธีปล่อยเรือถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่และมีผู้เข้าชมถึง 100,000 คน
หลังจากใช้เวลาตกแต่งหลายเดือน ในที่สุด ไททานิกก็กลายเป็นเรือเดินสมุทรสุดหรูหรา ไททานิกมีระวาง 46,300 ตัน[1] ใหญ่กว่าเรือโอลิมปิก 1,000 ตัน บรรทุกผู้โดยสารและลูกเรือได้เต็มที่ถึง 3,547 คน มีเครื่องยนต์ที่มีพลังแรงถึง 46,000 แรงม้า (เปรียบเทียบกับรถยนต์นั่งขนาดกระบอกสูบ 2,000 ซีซี. มีกำลังราว 130-140 แรงม้า) ทุ่มค่าก่อสร้างไปถึง 7,500,000 ดอลลาร์และค่าตกแต่งอีก 2,500,000 ดอลลาร์ รวมเป็น 10 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถ้าคิดเทียบเป็นค่าของเงินในปัจจุบันจะเป็นมูลค่าถึง 400 ล้านดอลลาร์ (ราวสองหมื่นล้านบาท) ทีเดียว
วันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1912

อาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย (RMS Carpathia)
วันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1912 ขณะเดินทางอยู่ทางใต้ของแกรนด์แบงค์ ของนิวฟันด์แลนด์ 22 นาฬิกา 45 นาที อุณหภูมิภายนอกเรือ ลดลงอย่างรวดเร็วจนเกือบถึงจุดเยือกแข็ง และน้ำทะเลรอบๆ ก็นิ่งลงจนแทบไม่มีคลื่นเลย เป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจ แต่ก็ไม่มีใครในเรือที่รู้สึกถึงความผิดปกติ ผู้โดยสารที่อยู่บนดาดฟ้าก็กลับลงไปในเรือและใช้ชีวิตต่อตามปกติ[23]
22 นาฬิกา 50 นาที ทะเลสงบไร้ระลอก มหาสมุทรเงียบสงัด คงมีแต่เสียงหัวเรือแหวกน้ำทะเล เรือเดินสมุทรแคลิฟอร์เนียนซึ่งอยู่ไม่ไกลนักได้ส่งข่าวเตือนภัยแก่ไททานิกว่าเรือแคลิฟอร์เนียนต้องหยุดเรือไม่สามารถเดินทางต่อไปได้เพราะถูกห้อมล้อมไปด้วยน้ำแข็ง[23]

ภาพภูเขาน้ำแข็งที่ไททานิกชน ถ่ายไว้ในวันเดียวกับที่ไททานิกจมหายไปทั้งลำ

ภาพภูเขาน้ำแข็งที่ไททานิกชน ถ่ายไว้เมื่อ 5 วัน หลังเกิดเหตุ

ภาพไททานิกและภูเขาน้ำแข็ง
23 นาฬิกา 39 นาทีเวรยามที่เสากระโดงแจ้งว่าได้พบภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่อยู่ข้างหน้าเรือ ลูกเรือจึงได้เลี้ยวลำเรือเพื่อหลบเลี่ยง แต่เนื่องจากใบจักรและหางเสือที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับขนาดของเรือ ทำให้ผู้บังคับเรือซึ่งยังไม่ชินกับการบังคับเรือใหญ่ขนาดนี้ทำให้ตัดสินใจผิดพลาด[24]
23 นาฬิกา 40 นาที ไททานิกชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็ง[1] ที่ 41 องศา 46 ลิปดาเหนือ 50 องศา 14 ลิปดาตะวันตก
ไม่กี่นาทีต่อมาวิศวกรเดินลงไปตรวจดูความเสียหาย และรายงานมาว่า เรือได้ชนกับภูเขาน้ำแข็งทางกราบขวาด้านหัวเรือ ซึ่งเป็นจุดอ่อนทนรอยแตกได้ไม่อึดเท่าจุดอื่นๆ และห้องเครื่องส่วนหัว 5 ห้องเครื่องแรกก็เกิดรอยรั่ว ซึ่งวิศวกรบอกว่า หัวเรือเป็นจุดอ่อนที่สุดในเรือที่สามารถรับรอยแตกต่อเนื่องจากหัวเรือได้ 4 ห้อง ไม่ใช่ 5 ห้องดังที่เป็น ดังนั้น น้ำจะท่วมห้องเครื่องทั้งห้าสูงขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อท่วมมิดชั้นF เริ่มไหลขึ้นชั้นE น้ำก็จะล้นกำแพงกั้นน้ำเข้าท่วมห้องเครื่องที่ 6 และท่วมไปทีละห้องๆ และจมในที่สุด ดังนั้น เรือกำลังจะจม โดยหัวเรือจะจมลงไปก่อน โดยเรือเหลือเวลาไม่กี่ชั่วโมง[3][25]
0 นาฬิกา 0 นาที ของวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 น้ำเริ่มท่วมส่วนที่เป็นห้องพักของผู้โดยสารชั้นสาม ทำให้เริ่มเกิดข่าวลือกันในเรือว่าเรือกำลังจะจม แต่ผู้โดยสารส่วนมากที่ได้ข่าวมักยังไม่เชื่อ เพราะก่อนหน้านี้เรือไททานิกถูกโปรโมตอย่างดิบดีว่าไม่มีวันจม
0 นาฬิกา 5 นาที กัปตันสั่งให้เตรียมเรือสำรองไว้ เตรียมอพยพผู้คนโดยด่วน , ไปบอกเจ้าหน้าที่วิทยุให้ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือออกไป และบอกพนักงานให้ไปปลุกผู้โดยสาร ให้ผู้โดยสารสวมเสื้อชูชีพ และทำร่างกายให้อุ่นๆ และไปที่ดาดฟ้า ทำให้ข่าวลือเรื่องเรือกำลังจะจมแพร่ไปทั่วเรือ แต่ส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อ ส่วนใหญ่ยังนั่งกินเลี้ยง เล่นไพ่ ดื่มไวน์อย่างใจเย็น และเมื่อขึ้นไปที่ดาดฟ้า เจออากาศหนาวๆ ภายนอก ก็กลับเข้าไปข้างในอีก ในช่วงเวลานี้ ผู้โดยสารดูไม่ตื่นตัว และไม่รู้ว่าสิ่งที่พวกเขากำลังจะพบนั้นเลวร้ายเพียงใด[3]
ต่อมาราว 5-15 นาที เรือ อาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย (RMS Carpathia) ของสายการเดินเรือคูนาร์ด (Cunard Line) รับสัญญาณขอความช่วยเหลือของไททานิกได้ และตอบกลับ โดยบอกว่าเร่งเครื่องเต็มที่แล้ว และคาร์พาเธียจะไปถึงเรือไททานิกภายใน 4 ชั่วโมง แต่นั่นนานเกินไป วิศวกรบอกว่าเรือลอยอยู่ไม่ถึง 4 ชั่วโมงแน่ ดังนั้น ไททานิก จึงต้องพึ่งตนเอง[26]
0 นาฬิกา 25 นาที เรือสำรองทุกลำพร้อมอพยพผู้โดยสาร กัปตันสั่งให้เริ่มอพยพโดยให้สตรีและเด็กลงเรือไปก่อน แต่ลูกเรือไม่รู้ว่าเรือสำรองจุผู้คนได้เท่าไร จึงปล่อยเรือบดออกทั้งๆที่ยังใส่คนไม่เต็มที่ ทำให้แทนที่เรือสำรองจะช่วยชีวิตได้ 1,178 คนตามที่มันถูกออกแบบ มันกลับรับผู้โดยสารมาเพียง 712 คนเท่านั้น[3]
0 นาฬิกา 45 นาที เรือสำรองลำแรกถูกปล่อยลงมา และเมื่อผู้โดยสารได้รับข่าวการปล่อยเรือชูชีพ และเห็นเจ้าหน้าที่ต่างทำงานอย่างเคร่งเครียดเอาจริงเอาจัง ก็เริ่มเชื่อข่าวที่ลือกันในเรือว่า เรือกำลังจะจม[27]
0 นาฬิกา 50 นาที พลุขอความช่วยเหลือเริ่มถูกยิงขึ้นฟ้า[3]
1 นาฬิกาตรง ผู้โดยสารและลูกเรือส่วนใหญ่เชื่อแล้ว ว่าเรือที่พวกเขาอยู่นั้นกำลังจะจม ความวุ่นวายและตื่นตระหนกเริ่มเกิดขึ้น ลูกเรือที่ทำหน้าที่ปล่อยเรือสำรองเริ่มเจอแรงกดดันจากการที่ผู้โดยสารแย่งกันเป็นคนถัดไปที่จะได้ขึ้นเรือสำรอง เกิดเป็นความวุ่นวายเล็กๆ แต่ในขณะเดียวกัน ผู้โดยสารชายหลายท่าน แสดงความเป็นสุภาพบุรุษ โดยให้ภรรยาและลูกขึ้นเรือ แล้วตนเองถอยไป[28]
1 นาฬิกา 15 นาที น้ำท่วมขึ้นมิดหัวเรือ และข่าวการที่น้ำท่วมมาจนมิดหัวเรือ ทำให้ผู้โดยสารเริ่มตื่นตระหนก เพราะเคยเห็นว่าหัวเรือนั้นสูงเพียงใด ดังนั้นผู้โดยสารและลูกเรือจึงตื่นตระหนกมากขึ้นเมื่อรู้ข่าว เพราะคิดว่า เรือจมเร็วกว่าที่คิด ทำให้ผู้โดยสารที่ไม่ใช่สุภาพบุรุษแย่งกันขึ้นเรือ ทำให้ความวุ่นวายทวีความรุนแรงขึ้น[3]
1 นาฬิกา 25 นาที ความวุ่นวายทวีความรุนแรงขึ้นมาก เจ้าหน้าที่เริ่มใช้ปืนในการควบคุม เรือบดถูกเจ้าหน้าที่ปล่อยลงอย่างรีบร้อน เพราะความวุ่นวายจะทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งจะเป็นอุปสรรคสำคัญในการใส่คนลงไปในเรือ และในการปล่อยเรือสำรองลงไป ในขณะที่เรือเองก็จมลงเรื่อยๆ เหล่านักดนตรีได้แสดงสปิริตอย่างน่าชื่นชม พวกเขาพยายามเล่นดนตรีเพื่อผ่อนคลายความตื่นตระหนกของคนบนเรือตลอดเวลา เมื่อห้องโถงด้านหัวเรือจมต่ำลงก็ย้ายไปเล่นที่ดาดฟ้าด้านท้ายเรือ และบรรเลงไปจนนาทีสุดท้ายของชีวิต
1 นาฬิกา 45 นาที น้ำเริ่มเข้าท่วมบริเวณระเบียงด้านหัวเรือ ในขณะนี้ ชั้น A ด้านหัวเรือ เหลือความสูงจากผิวน้ำ 3 เมตร
1 นาฬิกา 55 นาที เรือสำรองทุกลำถูกปล่อยออกไปหมด เจ้าหน้าที่จึงเตรียมเรือสำรองแบบพับได้ และเริ่มลำเลียงผู้คนออกจากเรือต่อ[3]
2 นาฬิกาตรง น้ำเริ่มไหลเข้าท่วมดาดฟ้าเรือบริเวณส่วนหัว ท่วมห้องบังคับการเรือ และเริ่มเข้าท่วมลึกเข้าไป[3]
2 นาฬิกา 5 นาที เรือสำรองทุกลำถูกปล่อยออกไปจนหมด แต่ยังเหลือคนมากกว่า 1,500 คนบนเรือ และท้ายเรือเริ่มยกตัวขึ้น เห็นใบจักรขับเคลื่อนลอยขึ้นมาอย่างชัดเจน และยกขึ้นเรื่อยๆ และทางด้านหัวเรือ น้ำก็เข้าท่วมสูงมิดห้องบังคับการเรือ ท้ายเรือยกตัวขึ้นสูงขึ้นเรื่อยๆ เรือเอียงอย่างน่ากลัว ผู้โดยสารหวาดกลัว บางคนถึงกับโดดลงมาจากเรือเพื่อหวังจะว่ายไปขึ้นเรือชูชีพด้านล่าง แต่ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตก่อนจะว่ายไปถึง[29]
เพราะในเวลานั้น เจ้าหน้าที่ที่อยู่บนเรือสำรอง ได้นำเรือสำรองทุกลำให้ออกห่างจากตัวเรือไททานิกให้ไกลที่สุด เพราะไททานิกที่กำลังจมอย่างรวดเร็วและรุนแรง อาจจะดูดเรือสำรองจม หรืออาจเกิดอันตรายอย่างอื่น ที่สามารถทำให้เรือสำรองจมได้ เหล่าเจ้าหน้าที่ พยายามนำเรือสำรองออกไปให้ไกลที่สุด ดังนั้น ผู้ที่ตัดสินใจในการโดดมาจากเรือไททานิก แล้วคิดว่ายไปขึ้นเรือสำรอง ส่วนใหญ่จึงไม่รอด
2 นาฬิกา 18 นาที ระบบไฟฟ้าบนเรือหยุดทำงาน ไม่นานต่อมา เรือก็ขาดออกเป็นสองท่อน (จุดที่ฉีกขาดอยู่ระหว่างปล่องไฟปล่องที่ 3 กับปล่องที่ 4) แต่พื้นของชั้นล่างสุดยังไม่ขาดออกจากกัน การหักครั้งนี้ ทำให้ส่วนหัวเรือจมลงอย่างรวดเร็ว ดึงส่วนท้ายเรือขึ้นมา ส่งผลให้ส่วนท้ายเรือยกตั้งฉากกับพื้นน้ำ และเริ่มจมลงในแนวดิ่ง[30]
2 นาฬิกา 20 นาที ของวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 เรือทั้งลำจมลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ[1] ผู้โดยสารจำนวนมากลอยคออยู่ด้วยเสื้อชูชีพ แต่น้ำทะเลในขณะนั้นเย็นจัดเกือบ 0 องศาเซลเซียส ผู้โดยสารและลูกเรือที่ขึ้นเรือสำรองไม่ทัน ถูกทิ้งให้ลอยคอบนน้ำที่เย็นยะเยือก ในขณะที่ทางเรือสำรองที่ลอยอยู่ด้านนอก ก็พยายามจะเข้าไปช่วย แต่ไม่ได้ เพราะหากผลีผลามเข้าไป คนที่ลอยคออยู่ในน้ำที่เย็นเยือกจะแย่งกันขึ้นเรือสำรอง เพื่อที่จะหลุดพ้นจากน้ำอันเย็นหนาว ซึ่งนั่นจะทำให้เรือสำรอง ถูกผู้ที่ลอยคออยู่รุมจนจมลงไปด้วย ดังนั้น จึงต้องรอ ปล่อยให้ผู้ที่ลอยคอหนาวตายไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเหลือผู้รอดน้อยพอที่จะเข้าไปช่วยเหลือได้โดยที่เรือสำรองจะไม่ถูกรุมจนจม
3 นาฬิกาตรง เสียงหวีดร้องขอความช่วยเหลือเงียบลง รวมเป็นเวลา 40 นาที ที่ผู้ที่ลอยคออยู่ตายไปจนเกือบหมด เจ้าหน้าที่จึงส่งเรือสำรองมาช่วย แต่ไม่ค่อยทันนัก ส่วนใหญ่ ตายหมดแล้ว เรือสำรองที่เข้าไปช่วยเหลือนั้น นำผู้โดยสารที่ยังไม่เสียชีวิตขึ้นมาได้เพียง 14 คนในสภาพหนาวสั่นทรมาน และในจำนวนนี้ 3 คนเสียชีวิต รวมแล้วเหลือผู้ที่รอดจากการถูกนำมาจากน้ำเย็นเฉียบเพียง 11 คน[31]
4 นาฬิกา 10 นาที อาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย[1] ได้เข้าไปช่วยเหลือผู้รอดชีวิตบนเรือสำรองทั้งหมด และพาสู่นิวยอร์ก[32] ในวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1912 จากนั้น ได้มีการสรุปยอดและรายชื่อของผู้รอดและผู้เสียชีวิต ดังนี้[33]
กลุ่มคน   จำนวนที่โดยสารมาในเที่ยวนี้   จำนวนที่รอด   จำนวนที่เสียชีวิต
ลูกเรือ   899   214   685
ผู้โดยสารชั้น Third Class   710   174   536
ผู้โดยสารชั้น Second Class   285   119   166
ผู้โดยสารชั้น First Class   329   199   130
รวมทั้งหมด   2,223   706   1,517
[แก้]การสืบสวนและเรือแคลิฟอร์เนียน[34]
(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/04/Titanic-NYT.jpg/180px-Titanic-NYT.jpg)
ข่าวการจมของไททานิกบนหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times)
หายนะภัยไททานิกครั้งนี้มีผู้รอดชีวิตทั้งสิ้นกว่า 700 คน แต่มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,500 คน นับเป็นภัยพิบัติครั้งร้ายแรงครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเดินเรือ[36]
อันที่จริงแล้ว ผู้ที่รอดชีวิตจากเรือไททานิกมิได้มีแต่เพียงผู้หญิงและเด็กเท่านั้น แต่ยังมีชายด้วย จากการสรุปข้อเท็จจริงพบว่าชายที่รอดชีวิตมีทั้งผู้โดยสารชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3 และลูกเรือ[37]
บุคคลที่รอดชีวิตบางคนที่น่ากล่าวถึงคือ เจ. บรูซ อิสเมย์ กรรมการผู้จัดการไวต์สตาร์ ผู้คนส่วนใหญ่ต่างสงสัยกันว่าอิสเมย์รอดมาได้อย่างไรทั้ง ๆ ที่ผู้ชายส่วนใหญ่เสียชีวิตหมดเนื่องจากสละที่นั่งให้แก่สตรีและเด็ก ชีวิตในช่วงหลังของอิสเมย์ต้องล้มละลายทางเกียรติยศเพราะสังคมตราหน้าว่าเขารอดมาได้เพราะแย่งที่ของสตรีและเด็ก
บางคนก็พูดกันว่าอิสเมย์พรางตัวเป็นหญิงเพื่อลงเรือ แต่อิสเมย์ชี้แจงว่าตนลงเรือชูชีพลำสุดท้าย เมื่อเห็นยังมีที่ว่างจึงได้ลงเรือไปและก็ไม่ได้พรางตัวเป็นสตรีแต่อย่างใด
นางมอลลี บราวน์ (Molly Brown) ซึ่งเป็นพวกเศรษฐีใหม่ที่เดินทางไปกับเรือไททานิก เมื่ออยู่ในเรือ ชูชีพนางบราวน์ได้แสดงความเข้มแข็งและกล้าหาญ ในสภาพที่ทุกคนหมดเรี่ยวแรง เธอได้แสดงบทบาทผู้