ข่าว:

🎉🎉🎉 XONLY เปิดรับลงทะเบียนสมาชิกใหม่อีกครั้ง จำกัดวันละ 50 คน จนกว่าแอดมินจะขี้เกียจรับ😀

Main Menu
T

ตำนานสยอง... เพชรสีน้ำเงิน

เริ่มโดย tunappus, ธันวาคม 24, 2012, 02:16:54 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

tunappus

cr. the shock



อาถรรพ์... "คำสาปเพชรโฮป"... ((ตำนานสยอง... เพชรสีน้ำเงิน))

เพชร นอกจากจะสวยงาม เป็นสิ่งล้ำค่าหายากแล้ว ยังผูกพันอยู่กับความเชื่อมากมาย เพชร "โฮป" เพชรสีน้ำเงินเข้มเม็ดนี้เป็นอีกหนึ่งตำนานที่ได้รับการกล่าวขานมาเนิ่นนานโฮปไดอามอนด์ ปรากฏตัวเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในปี 1660(บางเอกสารกล่าวว่าปี 1661) ว่ากันว่า เพชรโฮปมาจากดวงตาของเทวรูปในวัดริมแม่น้ำโคเลอรูน (Coleroon) ในอินเดีย เพชรหนัก 112 กะรัต(22.44 กรัม) 3/16 กะรัต ซึ่งนับว่าใหญ่ที่สุดในโลกในบรรดาเพชรสีน้ำเงินในอดีตที่เคยพบมา เพชรเม็ดนี้ ถูกขุดพบในเหมืองคอลเลอร์ (Kollur mine)ในกอลคอนดา เป็นเพชรที่หายากและมีสีน้ำเงินเหมือนสีไพลินเข้ม

 
 
 
 
 
 
 
 
 


ชอง-แบปตีส ตาแวร์นีเย (Jean-Baptist Tavernier) พ่อค้าเพชรชื่อดังชาวฝรั่งเศส ซื้อเพชรนี้มา และลักลอบนำเข้าไปยังกรุงปารีสใน ค.ศ. 1668จุดกำเนิดอาถรรพ์อยู่ที่เรื่องเล่าที่ว่า แท้จริงแล้วเพชรถูกขโมยมาจากพระเนตร (บางที่ก็ว่าจากพระนลาฏ) ของเทวรูปนางสีดาซึ่งเป็นร่างที่พระนางลักษมีชายาของพระวิษณุ ที่ชาวอินเดียเคารพนับถืออย่างสูงแปลงลงมาจุติ ทำให้เทพเจ้าไม่พอพระทัย และสาปแช่งมนุษย์ผู้ใดก็ตามที่บังอาจครอบครองสมบัติชิ้นนี้ 
 
อย่างไรก็ตาม มีผู้แสดงความคิดเห็นคัดค้านว่าตำนานนี้ไม่น่าจะเป็นเรื่องจริงเนื่องจากรูปร่างของเพชรดิบสีน้ำเงินไม่เหมาะที่จะเป็นอัญมณีประดับที่พระเนตร(หรือพระนลาฏ) ของเทวรูปเลย แต่ไม่ว่าคำสาปแช่งจะมีอยู่จริงหรือไม่ ข้อเท็จจริงที่จะได้เล่าต่อไปก็ล้วนชี้ให้เห็นว่าบรรดาเจ้าของเพชรอาถรรพ์ต่างก็ประสบชะตากรรมเลวร้ายทั้งสิ้น
 
หลังจากที่ตาแวร์นิเยร์เดินทางกลับประเทศฝรั่งเศส เขาได้ขายเพชรเม็ดใหญ่นี้ให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งราชวงศ์บูร์บอง ในปี 1668 และเมื่ออายุได้ 84 ปีตาแวร์นิเยร์ก็เสียชีวิตอย่างลึกลับที่รัสเซีย โดยมีข่าวลือว่าเขาถูกหมาป่าฉีกร่างจนตาย นับเป็นการสังเวยครั้งแรกให้แก่อาถรรพ์เพชรโฮป
 
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซื้อเพชรจากตาแวร์นิเยร์ ด้วยราคาหลักล้าน เพชรถูกเจียระไนเป็นรูปหยดน้ำรูปทรงสามเหลี่ยมหนัก 67.5 กะรัต โดยนายเปเตออง (Petean)ช่างฝีมือเน้นเรื่องขนาดมากกว่าความงามของน้ำเพชร ครั้งนี้พระองค์ทรงให้ตัดแบ่งเพชรออกเป็น 3 ส่วน ชิ้นแรกนั้นหายสาบสูญไป ส่วนอีกสองชิ้น ชิ้นหนึ่งได้รับการเจียระไนเป็นรูปหัวใจขนาด 67 1/8 กะรัต และใช้เป็นเพชรประดับประจำราชวงศ์ฝรั่งเศสมาอีกนับทศวรรษในชื่อ "เพชรมงกุฎสีน้ำเงิน"(Blue diamond of the crown) หรือ "สีน้ำเงินแห่งฝรั่งเศส"(French Blue) ซึ่งในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นเพชรโฮป
 
ส่วนเพชรชิ้นสุดท้ายไม่มีหลักฐานแน่ชัดแต่เชื่อว่าคือเพชรที่เรียกว่า"บรันสวิก บลู" เคราะห์กรรมของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 กับพระนางมารีอังตัวเน็ตนั้นมีชื่อเสียงเกินพอจนไม่มีอะไรจะให้พูดถึง และมีการกล่าวว่าเจ้าหญิงซึ่งเคยยืมเพชรเม็ดนี้จากพระนางมารีอังตัวเน็ตมาใส่บ่อยๆ ก็ถูกประชาชนรุมฆ่าตายอย่างทารุณ เวลาผ่านไป ความโชคร้ายก็เริ่มคืบคลานเข้าครอบงำสมาชิกราชวงศ์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเพชรทีละน้อย
 
 
เสนาบดีคลัง นิโคลัส ฟูเก ที่เคยหยิบยืมเพชรไปใส่ ในที่สุดก็ต้องออกจากตำแหน่ง ทั้งยังต้องโทษติดคุก แต่ที่ร้ายไปกว่านั้น คือชะตากรรมของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระราชินีมารี อังตัวเนตต์ที่ได้รับสืบทอดเพชรแห่งหายนะทั้งสองพระองค์ถูกตัดพระเศียรด้วยกิโยตินอย่างน่าสยดสยอง ดังที่จารึกอยู่ในประวัติศาสตร์การปฏิวัติอันนองเลือดของฝรั่งเศส ในปีคริสตศักราช 1789และบางส่วนของเพชรมรณะเม็ดนี้ก็ได้หายสาบสูญไปในเหตุการณ์วุ่นวายครั้งนี้ด้วย
 
ปี 1792 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส มีกลุ่มหัวขโมยบุกเข้าปล้นเพชรบางส่วนที่เหลืออยู่จากราชวังที่ปิดตายอยู่ ในระหว่างนี้เพชรถูกตัดให้เล็กลงอีกเพื่อกลบเกลื่อนร่องรอยที่มา จนเหลือขนาด 44.50 กะรัต คนรักของพระองค์ที่ได้รับเพชรเม็ดนี้เป็นของขวัญก็ถูกขับออกจากราชสำนักในภายหลัง เนื่องจากวางแผนจะวางยาพิษราชินี คือ มาดาม เดอ มงเตสปอง (Madam de Montespan)นางกลายเป็นที่เกลียดชังของราชสำนัก เพชรฝรั่งเศสสีน้ำเงินนี้ ได้หายไปในเดือนกันยายน ค.ศ. 1792 หลังจากการปล้นเพชรครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ที่คลังเก็บสมบัติแห่งชาติ (The National Garde Meuble) ใน ค.ศ. 1812
 
ต่อมาในปี 1813 ณ กรุง ลอนดอน นายหน้าค้าเพชรนาม ดาเนียล เอเลียสัน(Daniel Eliason) ได้เพชรสีน้ำเงินเม็ดหนึ่งขนาด 44 กะรัตมาไว้ในครอบครองถึงแม้รูปร่างลักษณะจะไม่เหมือนเดิม แต่ด้วยความงามที่เป็นหนึ่งไม่มีสอง ทำให้ผู้ที่ได้พบเห็นเชื่อกันว่า มันก็คือเพชรน้ำเงินแห่งฝรั่งเศสที่ถูกเปลี่ยนรูปร่างไปเพื่อให้สะดวกต่อการขนย้ายข้ามชาติอย่างลับๆ กล่าวกันว่าผู้ที่ทำการเจียระไนคือ วิลเฮล์ม ฟาลส์ (Wilhlem Fals) นักเจียระไนชาวฮอลแลนด์ก็มีจุดจบอย่างน่าเศร้า ถูกบุตรชายของตนเองขโมยเพชรล้ำค่าไปจนตรอมใจตาย
 
ในขณะที่บุตรคนนั้นในภายหลังก็ได้ฆ่าตัวตายอย่างไม่ทราบสาเหตุ มีหลักฐานจากบางแหล่งว่าพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งราชวงศ์อังกฤษก็เป็นพระองค์หนึ่งที่เคยได้ครอบครองเพชรอาถรรพ์ และทางราชวงศ์ต้องขายมันไปเมื่อสิ้นพระชนม์เพื่อจ่ายหนี้ที่มีอยู่มหาศาล จากนั้นเพชรก็ถูกเปลี่ยนมือไปเรื่อยๆ
 
จนในปีคริสตศักราช 1939 เฮนรี ฟิลิปโฮป (Henry Philip Hope) เจ้าของมรดกบริษัทการธนาคารก็ซื้อเพชรสีน้ำเงินเม็ดนี้ไว้ เพชรมงกุฎแห่งฝรั่งเศสจึงได้กลายเป็นเพชรประจำตระกูลโฮป และได้ชื่อว่า "เพชรโฮป" นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 
ลอร์ดฟรานซิส เพลแฮม คลินตัน โฮป (Lord Francis Pelham Clinton Hope)ซึ่งได้เป็นเจ้าของเพชรต่อจากพ่อของเขา ท้ายที่สุดแล้วกลับล้มละลาย และเพชรก็ได้หายไปอีกครั้งหนึ่ง (ภายหลังเมย์ภรรยาเก่า หย่ากับฟรานซิส และใช้ชีวิตอย่างแร้นแค้นไปจนเสียชีวิต เธอกล่าวว่าเคราะห์ร้ายของตัวเองเป็นเพราะโฮปไดอามอนด์)
หลังจากเพชรถูกขโมย เพชรถูกขายให้กับช่างเจียระไนเพชรในอัมสเตอร์ดัมส์ 
ซึ่งลูกชายของช่างที่ขโมยออกมาขายก็เกิดคลุ้มคลั่งจนฆ่าตัวตายไป
[backcolor=#000000] [/backcolor]ส่วนเอเรียสันนั้นถูกกล่าวว่าตกม้าตายหลังจากซื้อเพชรมาไว้ในครอบครอง
[backcolor=#000000] [/backcolor]
[backcolor=#000000] [/backcolor]
[backcolor=#000000] [/backcolor]
[backcolor=#000000] [/backcolor]
[backcolor=#000000] [/backcolor]
[backcolor=#000000][/backcolor]
 
 
ฟรานซิสล้มละลาย จึงขายเพชรต่อให้กับพ่อค้าเพชรในลอนดอนชื่ออดอฟล์ เวลเป็นเงิน 29,000 ปอนด์ ซึ่งอดอฟล์ก็ขายต่อให้กับไซมอน แฟรงเกล พ่อค้าเพชรชาวอเมริกาอีกที อีกครั้งที่เพชรโฮปได้เดินทางไปทั่ว ผ่านพระหัตถ์ของเจ้าชายคานิตอฟสกีแห่งรัสเซีย ซึ่งทรงได้มอบเพชรเป็นของกำนัลแก่นางละครที่โฟลีส์ แบแย (Folies Bergere) คนเดียวกับที่พระองค์ทรงยิงจนเสียชีวิตในอีกไม่กี่วันต่อมา ส่วนตัวเจ้าชายก็ถูกพวกกบฏแทงสิ้นพระชนม์ตามไปติดๆ


ไปจนถึงชาวกรีกคนหนึ่งชื่อ ไซมอน มอนธะริเดส (Simon Montharides)ที่ซื้อเพชรโฮปไว้แต่ก็ต้องประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์จนเสียชีวิตทั้งครอบครัว
 
ถึงปีคริสศักราช 1908 ปีแยร์ การ์ตีเย (Pierre Cartier) พ่อค้าเพชรชาวปารีสได้ขายเพชรโฮปผ่านทางสุลต่านอับดุล-ฮามิด (Abdul - Hamid) เพชรตกเป็นของสุลต่านแห่งตุรกี อับดุล ฮามิดที่ 2 ไม่นาน อาณาจักรออสมันด์ล่มสลายพระองค์จึงถูกเรียกว่าเป็น"ราชาที่ถูกเพชรสาป"
 
แฟรงเกลขายเพชรให้กับโซโลมอน ฮาบิบ ชาวกรีก เป็นเงิน 400,000 ดอลล่าร์ฮาบิบเอาเพชรออกขายในงานประมูลเพื่อหาเงินมาใช้หนี้ และพ่อค้าเพชรโรสนัวก็เป็นผู้ซื้อไปก่อนจะขายให้กับปีแยร์ การ์ตีเย ในปี 1910 เป็นเงิน 550,000 ฟรังและในปลายปีถัดมา นายฮาบิบ ก็เสียชีวิตจากเรืออัปปาง ที่ช่องริโอ
 


เพชรจึงถูกนำมาประมูลขายใช้หนี้ โดยปิแอร์ คาร์เทียร์เป็นผู้ได้เพชรเม็ดในปี 1950 เป็นเงิน 550,000 ฟรัง และปี 1911 จึงได้ตกแต่งเพชรขายให้กับวิลเลียม แมกลีน (William Mclean) ภรรยานายเอ็ดเวิร์ด แมคลีน (EdwardMclean) เจ้าของหนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสต์ แล้วเพชรเม็ดนี้ก็ถูกนำไปที่สหรัฐอเมริกา แมกลีน ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ซื้อเพชรมาด้วยราคา 154,000 ดอลลาร์สหรัฐ ภรรยาของแมกลีนต้องการให้พระทำพิธีขับไล่ผีในเพชรก่อน พิธีนี้จึงได้มีขึ้นและเธอก็ป่าวประกาศว่ามี "ฟ้าผ่าและฟ้าแลบในระหว่างพิธี" ด้วย หลังจากนั้นเธอจึงค่อยสวมใส่เพชรเม็ดนี้ โชคร้ายที่ดูเหมือนคำสาปในเพชรยังคงมีอยู่ ใน ค.ศ. 1918 ลูกชายของแมกลีนอายุ9 ขวบ หลุดรอดจากการดูแลของบรรดาเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และถูกรถคันหนึ่งชนเสียชีวิต แมกลีนจึงดื่มเหล้าและหลังจากนั้นไม่กี่เดือนลูกสาวคนเดียวของพวกเขาก็ปลิดชีพตัวเองโดยใช้ยานอนหลับ
 
ใน ค.ศ. 1949 แฮร์รี วินสตัน (Harry Winston) พ่อค้าเพชรชาวนิวยอร์ก ได้ซื้อเพชรโฮปไปด้วยราคา 180,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำไปเพิ่มชุดสะสมส่วนตัวของเขา แม่ของแมคลีนเสียชีวิตหลังจากซื้อเพชรมาได้ไม่นานนัก ในไม่ช้าคนใช้ 2 คนก็เสียชีวิต ตามด้วยลูกชายวัย 10 ปีของเธออีกคน
 
หลังเหตุการณ์นี้แมกลีนหย่าจากเอ็ดวาร์ด (เจ้าของหนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสต์)ซึ่งตัวเอ็ดวาร์ดเอง หลังจากนั้นก็ป่วยมีอาการทางจิตก็เข้าโรงพยาบาลและเสียชีวิตที่นั่น ลูกสาวเพียงคนเดียวของแมกลีนตาย เนื่องจากทานยานอนหลับเกินขนาด แมกลีนพยายามแก้เคล็ดด้วยการไปอธิษฐานในโบสถ์ แต่ก็ไม่เป็นผลและต้องเสียครอบครัวทั้งหมดไป (ในความเป็นจริง ยังมีหลานอยู่รับกรรมสิทธิ์ต่อ)
 
ใน ค.ศ. 1958 เอดนา วินสตัน (Edna Winston) ได้บริจาคเพชรเม็ดนี้ให้แก่สถาบันสมิทโซเนียนในกรุงวอชิงตัน ซึ่งเป็นที่ที่จัดแสดงเพชรจนปัจจุบันนี้
 
 
 
 
 
 
สถาบันสมิธโซเนียน (อังกฤษ: Smithsonian Institution)
เป็นสถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา และพิพิธภัณฑ์ ที่บริหารจัดการและได้รับทุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและจากผู้บริจาคต่างๆ รวมถึงรายได้การจำหน่ายออกร้านและค่าสมาชิกนิตยสาร หน่วยงานส่วนใหญ่ของสถาบันตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. แต่ยังมีพิพิธภัณฑ์อีกกว่า 19 แห่ง สวนสัตว์ ศูนย์วิจัยและหน่วยงานสนามอีกมากมายอยู่ในเมืองนิวยอร์ก เวอร์จิเนีย ปานามา และที่อื่นๆ มีวัตถุสิ่งของต่างๆ ในความดูแลของพิพิธภัณฑ์มากกว่า 136 ล้านชิ้น
 
สถาบันสมิธโซเนียนก่อตั้งขึ้นตามความประสงค์ของนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เจมส์ สมิธสัน (James Smithson; ค.ศ. 1765-1829) ซึ่งระบุพินัยกรรมว่า หากหลานชายของเขา เฮนรี เจมส์ ฮังเกอร์ฟอร์ด ไม่มีทายาท ก็ให้ยกมรดกทั้งหมดให้แก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเพื่อก่อตั้งองค์กรที่สามารถ "เพิ่มพูนและเผยแพร่ความรู้" ให้แก่มนุษยชาติ ปี ค.ศ. 1835 เมื่อหลานของเขาเสียชีวิตลงโดยไม่มีทายาท ประธานาธิบดีแอนดรูว์ แจ็กสัน จึงรายงานต่อรัฐสภาถึงความจำนงของเขา เงินพินัยกรรมที่เขายกให้แก่รัฐบาลสหรัฐฯ เวลานั้นมีมูลค่า 104,960 ปอนด์ทองคำ หรือ 500,000 เหรียญสหรัฐ (คำนวณตามอัตราเงินเฟ้อในปี ค.ศ. 2005 จะคิดเป็นเงิน 9,235,277 เหรียญสหรัฐ)