ข่าว:

🎉🎉🎉 XONLY เปิดรับลงทะเบียนสมาชิกใหม่อีกครั้ง จำกัดวันละ 50 คน จนกว่าแอดมินจะขี้เกียจรับ😀

Main Menu

กลุ้มใจมาก ปลูกเห็ดหูหนู ไว้ในกระชัง แต่ไม่ขึ้นเลยสักต้น

เริ่มโดย Badmy2006, มกราคม 17, 2013, 11:56:54 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

Badmy2006

เห็ดหูหนู

เป็นเห็ดที่ประชาชนทั่วไปรู้จักเป็นอย่างดี สามารถ เจริญเติบโตได้ดีในสภาพ ดินฟ้าอากาศของประเทศไทย เป็นเห็ดที่มีรสชาติดี กลิ่นหอม อร่อยและมีคุณสมบัติ พิเศษคือคงสภาพความกรอบและคุณค่าทางอาหาร ทั้งยังปลอดภัยต่อผู้บริโภค ธรรมชาติของเห็ดหูหนู
ในสภาพธรรมชาติ เห็ดหูหนูจะเจริญได้ดีในเขตร้อน โดยเฉพาะภูมิอากาศเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเจริญเติบโตบนขอนไม้ที่เริ่มเปื่อยผุพัง ชาวจีนเชื่อว่าเห็ดหูหนูเป็นยาอายุวัฒนะสามารถรักษาโรคคอเจ็บ โรคโลหิตจางและแก้โรคร้อนในได้เป็นอย่างดี ชาวจีนนับเป็นชาติแรกที่รู้จักเพาะและบริโภคเห็ดหูหนู ในสมัยก่อนชาวจีนเพาะเห็ดหูหนูโดยการตัดไม้โอ๊กเป็นท่อน ๆ มาเพาะ แต่สำหรับประเทศไทยได้ทดลองเพาะ เห็ดหูหนูโดยการตัดไม้แคมากองสุมกันไว้ พอถึงฤดูฝนไม้จะเริ่มผุและมีเห็ดหูหนูเกิดขึ้น จากนั้นก็สามารถเก็บดอกเห็ดหูหนูได้เรื่อย ๆ จนเน่าขอนไม้จะผุ แต่ในปัจจุบันนิยมการเพาะเห็ดหูหนู ในถุงพลาสติกกันมากเพราะมีความสะดวก หาวัสดุเพาะได้ง่าย

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับ การเจริญเติบโตของเห็ดหูหนู


1. อุณหภูมิ เห็ดหูหนูสามารถเจริญได้ดีในทุกสภาพอากาศของไทย ในช่วงอุณหภูมิ 15-35 องศาเซลเซียส แต่ช่วงอุณหภูมิ ที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 25-32 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 12 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส เส้นใยจะไม่ค่อยเจริญเติบโต ถ้าอุณหภูมิต่ำ ดอกเห็ดจะหนาผิดปกติ มีขนยาว เจริญเติบโตช้าและผลผลิตต่ำ แต่ถ้าอุณหภูมิสูง ดอกเห็ดจะมีขนาดเล็ก ผลผลิตต่ำ

2. ความชื้น ปกติต้องการความชื้นในอากาศสูงมาก ความชื้นสัมพัทธ์ไม่ควรต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์โดยเฉพาะในระยะเวลาที่เห็ดใกล้ออกดอก ควรมีความชื้นสัมพัทธ์ไม่ต่ำกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ 3. แสงสว่าง ปกติไม่จำเป็นนักแต่ในช่วงที่เส้นใยเจริญเติบโต หากมีแสงมากจะทำให้เส้นใยเดินช้าแก่เร็ว จึงควรเลี้ยงเส้นใยในห้องที่ค่อนข้างมืด สำหรับในช่วงที่เห็ดเริ่มออกดอก ถ้าแสงมากเกินไป ดอกเห็ดจะมีสีคล้ำขนยาว แต่ถ้าแสงน้อยดอกเห็ดจะซีด

4. การถ่ายเทอากาศ การถ่ายเทอากาศในโรงเรือนนับว่ามีความสำคัญมาก ถ้าการถ่ายเทอากาศไม่ดี และมีการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก ๆ ดอกเห็ดจะไม่บานแต่จะมีลักษณะเป็นแท่งคล้ายกระบอง แต่ถ้าอากาศถ่ายเทมากเกินไป จะทำให้ดอกเห็ดมีลักษณะแข็งกระด้าง มีขนยาว จึงนิยมเพาะในโรงเรือนที่มุงด้วยจากหรือหญ้าคา และบุด้วยพลาสติกภายในพร้อมกับ เจาะพลาสติกเป็นช่องระบายอากาศให้ถ่ายเทพอสมควร

5. สภาพความเป็นกรด-ด่าง เห็ดหูหนูเจริญได้ดีในสภาพเป็นกลาง หรือเป็นกรดเล็กน้อย ประมาณ 4.5-7.5 คล้ายกับเชื้อราทั่วไป ในการเพาะเห็ดหูหนูจึงควรปรับ สภาพของอาหารให้เหมาะกับการเจริญเติบโต