ข่าว:

🎉🎉🎉 XONLY เปิดรับลงทะเบียนสมาชิกใหม่อีกครั้ง จำกัดวันละ 50 คน จนกว่าแอดมินจะขี้เกียจรับ😀

Main Menu

แก่นแท้ของมนุษย์

เริ่มโดย joker socool, ตุลาคม 16, 2017, 09:36:51 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

joker socool

พอดีช่วยแฟนเขียนเรื่องส่งอาจารย์แล้วเห็นว่าเรื่องที่อ่านมันน่าสนใจดีเลยเอามาฝากกันครับ

การมองทะลุแก่นแท้ของมนุษย์

Human Penetrator การมองทะลุแก่นแท้ของมนุษย์

·           

Human Penetrator การมองทะลุแก่นแท้ของมนุษย์

ขงจื๊อเป็นนักคิดคนสำคัญยิ่งของโลก เป็นทั้งนักการศึกษา นักรัฐศาสตร์ นักปรัชญา และที่สำคัญคือเป็นผู้ที่ทรงอิทธิพล ทางความคิด มากที่สุด ในแผ่นดินจีน คำสั่งสอนของขงจื๊อเป็นรากฐานทางสังคม การเมือง และวัฒนธรรมของทั้งจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีมาจนถึงปัจจุบัน

แนวคิดของขงจื๊อไม่เพียงแต่เน้นให้คนมีคุณธรรม แต่ยังเป็นแนวทางนำไปสู่ความมีอัจฉริยะภาพ คือทำให้รู้ว่าในเวลาหนึ่ง คนเราควร จะคิดอะไร วางตัวอย่างไร คบเพื่อนแบบไหน เพื่อทำให้เราใช้ศักยภาพและเวลาที่มีจำกัด ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง มากที่สุดแก่น คำสอนของขงจื๊อสรุปได้เป็น 5 หัวข้อ ดังนี้

1. บุคลิกภาพของมนุษย์ที่แท้

มนุษย์ที่สมบูรณ์แบบของขงจื๊อ คือคนมีบุคลิกโดดเด่นเหนือคนทั่วไป มีพลังดึงดูด โน้มน้าวใจคน และมีคุณธรรมเที่ยงตรง ทำให้มีอำนาจเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป คุณลักษณะ 7 ประการที่จะช่วยให้มนุษย์มีพลังอำนาจตามวิธีคิดของขงจื๊อ คือ

·            นอบน้อม เพราะคนนอบน้อมจะไปทำอะไร ที่ไหน ย่อมไม่เป็นที่เกลียดชังของคนทั่วไป

·            เมตตากรุณา เพราะคนมีเมตตากรุณา มักจะมี positive aura บนใบหน้าที่ทำให้สามารถเอาชนะใจคนได้โดยง่าย

·            จริงใจ เพราะจะส่งผลให้มีบุคลิกซึ่งเป็นที่ไว้วางใจของผู้อยู่เหนือกว่า ผู้ใต้บังคับบัญชา และบุคคลทั่วไป

·            จริงจัง เพราะย่อมทำทุกสิ่งทุกอย่างลุล่วงลงได้

·            ใจคอกว้างขวาง เพราะย่อมใช้ให้คนทำงานแทนได้ และสามารถเป็นผู้นำที่ดีได้

·            ไม่กินอิ่มเกินไป ไม่แสวงหาความสะดวกสบายจนเกินไป เพราะจะทำให้กลายเป็นคนเกียจคร้าน ไม่แสวงหาหนทางปรับปรุงชีวิต พัฒนาตนเองในขณะที่ยังมีกำลังวังชา และสติปัญญาสมบูรณ์

·            มีอารมณ์มั่นคง ไม่หวั่นไหวง่าย ถ้ากล่าวแบบคนสมัยใหม่ ก็คือการมี EQ สูง

2. วิธีคิดของผู้มีปัญญา

คนเราเกิดมา มีปัญญาสูงต่ำไม่เท่ากัน มีโอกาสในการศึกษาไม่เท่ากัน แต่ขงจื๊อเห็นว่าในชีวิตประจำวันคนเราสามารถค่อย ๆ สร้างสม พัฒนาสติปัญญาให้ได้ด้วยตนเอง โดยการเปลี่ยนปรับวิธีคิดเสียใหม่ เลิกคิดปรุงแต่ง และคิดถึงเรื่องไร้สาระ และหันมาพิจารณาเฉพาะเรื่อง ที่เป็นประโยชน์แทน ดังนี้

·            มนุษย์ที่แท้ จะต้องพิจารณาอยู่เสมอว่า ทำอย่างไร เราจึงจะมองอะไรแล้วสามารถจะเห็นและเข้าใจสิ่งนั้นทะลุปรุโปร่ง และเมื่อได้ยินอะไรแล้ว ทำอย่างไรเราจึงจะฟังให้เข้าใจได้หมดซึ่งก็คือ การใช้สมาธิตั้งใจดู ตั้งใจฟัง นั่นเอง ปัญหาของจำนวนมาก คือ ดู เห็น ฟัง แล้วเข้าใจไม่หมด ตีความผิด ตีความเข้าตนเอง เอาตนเองเป็นที่ตั้งอยู่ตลอด ถ้าแก้ไขจุดนี้ได้ เราก็จะมีฐานข้อมูล ที่ถูกต้องแม่นยำ ซึ่งต้องใช้ประกอบการคิด การตัดสินใจต่อไป

·            อย่าคิดกังวลว่า ใครจะยอมรับยกย่องเราหรือไม่ แต่ให้เป็นกังวลมาก ๆ ว่า ขณะนี้เรายังขาดคุณสมบัติข้อใด ที่ทำให้ยังไม่เป็นที่ยกย่อง ของผู้คน และอย่าเป็นกังวลว่า คนอื่นจะไม่รู้จักนิสัยใจคอของเรา แต่ให้กังวลว่า ตัวเราจะไม่รู้จักนิสัยใจคอของคนอื่นดีกว่าจุดนี้คือ ขงจื๊อต้องการให้คนเราเน้น การพิจารณา เข้าใจ และปรับปรุงตนเอง ในขณะที่แนวโน้มของคนโดยทั่วไปจะชอบ "ส่องนอก ไม่ส่องใน" และใช้เวลาไปกับการจับผิด วิพากษ์วิจารณ์คนอื่นเสียมาก

·            เวลาเห็นช่องทางได้ผลประโยชน์ ต้องคิดถึง ความยุติธรรม ด้วยขงจื๊อเห็นว่า มนุษย์เรามีแนวโน้มจะคิดแบบเห็นแก่ได้ และตัดสินใจ ผิดพลาด เมื่อผลประโยชน์ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น เพื่อจะไม่ทำผิดคุณธรรม คนเราต้องพิจารณาเรื่อง ความยุติธรรมอยู่เสมอ ๆ ความยุติธรรมที่ให้พิจารณาก็คือ หลักการง่าย ๆ ถ้าเราไม่ชอบอะไร รังเกียจอะไร ก็จงอย่าทำกับคนอื่นแบบนั้น คิดได้แค่นี้

·            นอกจากนี้ ขงจื๊อยังให้ข้อเตือนใจไว้ว่า เกิดมาเป็นมนุษย์ต้องหัดคิดคิดการณ์ไกล เพื่อจะได้ไม่ต้องหลงทางนอกจากนี้ เวลาร่ำเรียนศึกษา ก็ต้องหัดคิดตาม เพราะคนที่ศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ โดยไม่คิด ย่อมไม่ฉลาดมากนัก ในทางตรงกันข้าม คนที่เอาแต่คิดวิเคราะห์สิ่งต่างๆ โดยไม่ชอบศึกษาหาข้อมูล ก็จะเป็นเพียงการคาดเดาหรือ speculation ย่อมจะคิดผิดพลาดได้ง่าย ๆ ดังนั้น คนเราต้องหัดฝึกฝน การคิดและการศึกษาหาข้อมูลไปพร้อม ๆ กัน

3. ระเบียบวินัย

ขงจื๊อกล่าวถึงระเบียบวินัย 3 ประการ ของคนวัยต่าง ๆ กัน

·            วัยหนุ่มสาว พลังยังไม่มั่นคง ต้องมีวินัยเรื่องกามคุณ

·            วัยกลางคน พลังกายใจเข้มแข็งมากที่สุด ต้องมีวินัยเรื่องความพึงพอใจ อย่างเพิ่งเฉยชาหรือพอใจกับอะไรง่าย ๆ

·            วัยชรา หมดเรี่ยวแรง พลังงานลดถอย ต้องมีวินัยกับความโลภ คืออย่ามีความต้องการมากมายไม่มีที่สิ้นสุด

4. การคบคน

ขงจื๊อเชื่อว่า ชีวิตคนเรา จะสุข ทุกข์ ประสบความสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับคนที่เราจะเข้าไปเกี่ยวข้องคบหาด้วย ดังนั้น ขงจื๊อจึงมีกฎในการเลือกคบคน ดังนี้

·            ข้อแรก ไม่คบหาคนที่มีคุณงามความดีไม่เท่าเรา

·            ข้อสอง ไม่แสวงความเห็น หรือปรึกษาหารือคนที่มีเส้นทางชีวิตไม่เหมือนเรา

·            ข้อสาม คนที่ควรคบหา คือ คนที่มีความซื่อตรง จริงใจ และมีความรู้

·            ข้อสี่ พึงเลี่ยงคบหาบุคคลที่เสแสร้ง พูดจาไร้สาระ ฉวยโอกาส ฟุ้งเฟ้อ

·            ข้อห้า เมื่อคบหาใครเป็นเพื่อนแล้ว จงมีความจริงใจต่อกัน แต่อย่าปล่อยให้เขาชักนำเราไปในทางที่ต่ำ

5. การพูด

คำพูดของเราต้องแสดงออกถึงความซื่อตรง สอดคล้องกับกริยาทางกาย เพราะถ้าหากคำพูดเราเกิดพร้อมกับกริยามุ่งมั่นจริงใจ พูดสิ่งใดก็ย่อมประสบผลเป็นที่น่าเชื่อถือ

6. การวางตัว

คนเราจะมีคนรักทั่วทิศ หากวางตัวได้ดังนี้

·            เวลาอยู่นอกบ้านแล้วพบผู้คน วางตัวราวกับคนผู้นั้นเป็นแขกสำคัญในบ้าน

·            เมื่อต้องสั่งการ วางตัวราวกับเราเป็นแม่งานของพิธีการที่สำคัญยิ่งใหญ่ (คนที่เป็นแม่งานจะต้องเห็นภาพงานทุกอย่าง ตั้งแต่ต้นจนจบ อย่างรอบด้าน และมีจิตมุ่งมั่นต้องการทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ในระยะเวลาที่ตั้งใจเอาไว้ เพราะฉะนั้นเวลาคนเป็นแม่งานสั่งงาน จะไม่สักแต่ว่าขอให้ใครทำอะไร แต่จะคิดอย่างรอบคอบถึงผลที่ตามมา จะไม่สั่งการแบบขอไปที แต่จะต้องมีการติดตามผล แนะนำเพื่อให้งานลุล่วงไปได้)

·            อะไรที่เราไม่ชอบ ก็อย่าปฏิบัติต่อคนอื่น

·            เข้มงวดต่อตนเอง แต่ให้อภัยคนอื่น

7. การวางจิต

ขงจื๊อเน้นการมีจิตใจที่ซื่อตรง เขาเห็นว่า ประเทศชาติจะสงบสุขได้ครอบครัวต้องดีก่อน แต่ครอบครัวจะดีได้ มนุษย์แต่ละคนต้องมี คุณธรรมมนุษย์แต่ละคนจะมีคุณธรรม ก็ต้องมีจิตใจที่ซื่อตรงและจิตใจที่ซื่อตรง จะมีได้ก็ต้องมีเจตนาที่ซื่อตรงก่อน ขงจื๊อเน้นจิตที่สามารถมองอะไรชัดเจน ทะลุปรุโปร่ง จิตเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ก็จากการมองเห็นและรู้จักตนเองอย่างรอบด้านก่อน



ความเป็นผู้นำ Leadership

·            Tab 1

การศึกษาภาวะผู้นำอย่างมีระบบได้ดำเนินการต่อเนื่องมาร่วมร้อยปี  เกิดมุมมองและความเชื่อต่าง ๆ ที่พัฒนามาเป็นทฤษฎีภาวะผู้นำจำนวนมากมาย  ในที่นี้จะแบ่งเป็นกลุ่มทฤษฎีและยกมาเป็นตัวอย่างเพียงบางทฤษฎี  เริ่มด้วยทฤษฎีคุณลักษณะของผู้นำ  กลุ่มทฤษฎีเชิงพฤติกรรม  ตัวอย่างบางทฤษฎีเชิงสถานการณ์  ทฤษฎีผู้นำเชิงวีรบุรุษ  หรือภาวะผู้นำใหม่โดยเสน่หาบางทฤษฎี  และประเด็นที่เป็นแนวโน้มที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำในอนาคต

ความหมายของภาวะผู้นำ

                มีคำสำคัญอยู่ 2 คำที่จำเป็นต้องเข้าใจในเริ่มแรก ก็คือคำว่า "leadership" ซึ่งมักเรียกว่า "ภาวะ     ผู้นำ"  หรือ  "การเป็นผู้นำ"  กับอีกคำหนึ่งคือ "Management"  ซึ่งเรียกว่า  "การบริหาร" หรือ            "การบริหารจัดการ"  ทั้งสองคำมีความหมายแตกต่างกัน โดยมีนักวิชาการคนสำคัญให้ทัศนะไว้ ดังนี้

คอตเตอร์   (Kotter, 1999)   แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  กล่าวไว้ว่า การบริหารจัดการ (Management) หมายถึง  ความสามารถในการเผชิญกับสถานการณ์ที่สลับซับซ้อนได้   การบริหาร      จัดการที่ดีทำให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในแง่ มีแผนงานที่เป็นทางการ มีโครงสร้างขององค์การที่แน่นอนชัดเจน  และมีการกำกับดูแลให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผน  ส่วนภาวะผู้นำหมายถึง  ความสามารถในการเผชิญกับภาวะการเปลี่ยนแปลงได้ โดยมีผู้นำเป็นผู้สร้างวิสัยทัศน์ให้เป็น ตัวกำกับทิศทางขององค์การในอนาคต  จากนั้นจึงจัดวางคนพร้อมทั้งสื่อความหมายให้เข้าใจวิสัยทัศน์และสร้างแรงดลใจแก่คนเหล่านั้น ให้สามารถเอาชนะอุปสรรคเพื่อไปสู่วิสัยทัศน์ดังกล่าว

เฮาส์ (House, 1996)  แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย  มีความเห็นคล้องจองกับทัศนะดังกล่าว โดยเห็นว่า ผู้บริหาร (Manager) คือ ผู้ใช้อำนาจทางการ (Authority) ซึ่งมากับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งเพื่อให้สมาชิกขององค์การยอมปฏิบัติตาม  การบริหารจัดการจึงประกอบด้วยการนำวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ของผู้นำลงสู่การปฏิบัติ  การประสานงานและการจัดคนทำงานในองค์การ  ตลอดจนการแก้ปัญหาประจำวันที่เกิดจากการปฏิบัติงาน

อย่างไรก็ตาม ได้มีผู้ให้นิยามความหมายของภาวะผู้นำจำนวนมากมายหลายร้อย นิยามแต่นิยามที่เลือกใช้ในบทนี้ ได้ให้ความหมายของ ภาวะผู้นำว่า เป็นความสามารถในการมีอิทธิพลต่อกลุ่มเพื่อให้ดำเนินงานได้บรรลุเป้าหมาย  ทั้งนี้เแหล่งที่มาของ การมีอิทธิพล อาจเป็นอย่างทางการ  เช่น ได้กำหนดชัดเจนมากับตำแหน่งทางบริหารขององค์การนั้นว่ามีอำนาจอะไรบ้างเพียงไร  ดังนั้นการได้รับบทบาทการเป็นผู้นำในตำแหน่งบริหารก็ทำให้บุคคลนั้นได้รับอำนาจและเกิดอิทธิพลต่อผู้อื่นตามมา  อย่างไร    ก็ตามความเป็นจริงพบว่า ไม่ใช่ผู้นำทุกคนที่สามารถเป็นผู้บริหาร (Not all leaders are managers)  และเช่นเดียวกัน ก็ไม่ใช่ผู้บริหารทุกคนที่สามารถเป็นผู้นำ (Not all managers are leaders)  ด้วยเหตุนี้เพียง   แค่องค์การได้มอบหมาย อำนาจหน้าที่ให้แก่ ผู้บริหารนั้น  ยังไม่มีหลักประกันอย่างเพียงพอว่าผู้นั้นจะสามารถในการนำได้อย่างมีประสิทธิผล  ทั้งนี้อาจมีอิทธิพลจาก ปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบมากกว่าอิทธิพลที่กำหนดตามโครงสร้างองค์การก็ได้  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า  ผู้นำสามารถเกิดขึ้น จากกลุ่มคนให้การยอมรับนับถือได้เช่นเดียวกับที่มาจาก การแต่งตั้งอย่างทางการ ในองค์การที่ดีจำเป็นต้องมีทั้ง ภาวะผู้นำและการบริหารจัดการ ที่เข้มแข็งจึงจะทำให้เกิด ประสิทธิผลได้สูงสุด  โดยเฉพาะภายใต้ภาวะของโลกที่มีพลวัตสูง ย่อมต้องการได้ผู้นำที่กล้าท้าทายต่อการดำรงสถานภาพเดิม มีความสามารถในการสร้างวิสัยทัศน์ และสามารถในการดลใจสมาชิก ทั้งองค์การให้มุ่งต่อความสำเร็จตามวิสัยทัศน์นั้น  แต่เราก็ยังต้องมีการบริหารที่สามารถกำหนดรายละเอียดของแผนงาน  สามารถออกแบบโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพขององค์การ รวมทั้งติดตามตรวจสอบดูแล การปฏิบัติงานประจำวันอีกด้วย

คุณสมบัติของการเป็นผู้บริหาร และผู้นำที่ดี

จริยธรรม Ethical Behavior



ทฤษฏีภาวะผู้นำ

ทฤษฏีภาวะผู้นำ ที่สำคัญ มี 3 ทฤษฏี คือ

1.) ทฤษฎีคุณลักษณะผู้นำหรือทฤษฎีอุปนิสัย (Trait Theory)

หลัก บุคคลเป็นผู้นำเพราะ มีบุคลิกลักษณะ ความสามารถที่เหมาะสมกับการเป็นผู้นำ (รูปร่างหน้าตา สติปัญญา วิสัยทัศน์มีความสามารถเหนือคนอื่น ความประพฤติดี มนุษยสัมพันธ์ที่ดี )

โดยคุณลักษณะที่เด่นชัด คือ

·            มีความรู้ความสามารถในการงาน

·            เข้าร่วมกิจกรรมด้วยใจรัก

·            ได้รับการยอมรับจากสมาชิก สมาชิกเต็มใจทำงานร่วม

2. ทฤษฎี สถานการณ์ (Situation Theory)

หลักการ ผู้นำเกิดจากสถานการณ์บางอย่างผลักดันให้บุคคลต้องแสดงบทบาทผู้นำ หรือต้องพัฒนาลักษณะผู้นำขึ้นมา (ฮิตเลอร์ มุสโสลินี หรือ เหมาเจ๋อตุง) ทฤษฏีนี้ยอมรับความสัมพันธ์ของผู้นำและกลุ่ม ผู้นำต้องครองใจปวงชนผู้แวดล้อม

3. ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์ (Interaction Theory)

หลักการ ความเป็นผู้นำเกิดจากปฏิสัมพันธ์ ความเป็นผู้นำ+สถานการณ์

(วิเคราะห์จากคุณสมบัติผู้นำ และ สถานการณ์ ) เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน ความเป็นผู้นำก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ผู้นำจึงมีได้หลายคน ผลัดเปลี่ยนกันไป

ทฤษฎีอื่นๆ ในเรื่อง ภาวะผู้นำ โดย Terry สรุป ไว้ 4 ทฤษฎี คือ

1. ทฤษฎีสนับสนุน (supporting Theory) เป็นทฤษฎีการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยผู้นำเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงาน มีโอกาสร่วมวางแผนและตัดสินใจในพันธกิจขององค์การ (ผู้นำต้องยอมรับในความรู้ความสามารถของผู้ร่วมงาน )

2. ทฤษฎีทางสังคมวิทยา(Sociological Theory) มีความเชื่อว่าผู้นำต้องแสดงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ร่วมงานโดยมุ่งจัดหา วัสดุ อุปกรณ์ให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน

3. ทฤษฎีทางจิตวิทยา( Psychological Theory) มีความเชื่อว่าผู้นำต้องพัฒนาระบบสร้างแรงจูงใจ มีจิตวิทยาสูง ใช้เทคนิคกระตุ้นให้บุคคลปฏิบัติงานด้วยจิตสำนึกรับผิดชอบต่อองค์การ

4. ทฤษฎียึดถืออำนาจ (Autocratic Theory) มีความเชื่อในการใช้อำนาจ ของตนเองในการบริหาร สั่งการ บีบบังคับให้ปฏิบัติงาน โดยไม่ต้องการเหตุผลในการอธิบายความ



รูปแบบและประเภทของผู้นำ

รูปแบบ ของผู้นำ มี 2 รูปแบบ คือ

1. ผู้นำที่เน้นงานเป็นศูนย์กลาง (Tasked –Related Function)

2.ผู้นำเน้นความสัมพันธ์กลุ่มเป็นศูนย์กลาง(Group-maintenance)

Likert ได้ศึกษารูปแบบผู้นำในมหามิชิแกน พบว่า การบริหารแบ่งผู้นำเป็น 4 แบบ

1. ผู้บริหารมุ่งใช้อำนาจ(Exploitative authority)

2. ผู้บริหารใช้อำนาจอย่างเมตตา

3. ผู้บริหารแบบการปรึกษาหารือ

4. ผู้บริหารเน้นความร่วมมือกับทุกฝ่าย

ประเภทของผู้นำ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1.ผู้นำแบบอัตตาธิปไตย (Autocratic Leader) ลักษณะเผด็จการชอบสั่งการใช้อำนาจกดขี่ / ยึดถือตัวเองเป็นศูนย์กลาง /การบังคับบัญชาสั่งการจากข้างบนลงล่าง/ผู้ช่วย คือผู้ใต้บังคับบัญชา

2. ผู้นำแบบเสรี(Laissez-faire leader) ไม่ยึดกฏเกณฑ์ตายตัว ปรับเปลี่ยนได้ตามผู้ร่วมงานเสนอ /ปล่อยผู้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่ไปเรื่อยๆ /ไม่มีความคิดสร้างสรรค์งานใหม่ / ไม่มีการประเมินผลงาน

3.ผู้นำแบบประชาธิปไตย(Democratic leader) ยึดถือความคิดกลุ่มเหนือความคิดตนเอง /แบ่งงาน/มอบหมายงานเป็นระบบ/ให้คำแนะนำในการงาน/สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ร่วมงาน โดยใช้กฎเกณฑ์สร้างสรรค์งาน

กล่าวโดยสรุป สภาพปัจจุบัน ผู้นำ มี 4 แบบ คือ

1.ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laissez-faire leader) ผู้นำจะปล่อยให้ผู้ร่วมงานตัดสินใจดำเนินการได้เอง ไม่ต้องรอการตัดสินใจจากผู้บังคับบัญชา

2.ผู้นำแบบเกื้อกูล หรือ แบบใช้พระคุณ(Charismatic Leadership) มีพฤติกรรมอ่อนโยน เห็นใจผู้ใต้บังคับบัญชา ใช้หลักธรรม หลักมนุษยสัมพันธ์

3.ผู้นำแบบเผด็จการ (Autocratic Leader) เชื่อมั่นตนเอง ชอบสั่งการ ตัดสินใจตามอารมณ์ ผูกขาดการตัดสินใจที่ตัวคนเดียว

4.ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic leader) ถือเอาความคิดของกลุ่มเป็นหลัก ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ปัจจุบันถือว่าเป็นแบบผู้นำที่ดีที่สุด



ผู้นำ มีในองค์การ (บุคลิกลักษณะ +อุปนิสัย+ภาวะผู้นำ)

ผู้บริหาร เป็นผู้บังคับบัญชาของหน่วยงาน องค์การ

ผู้นำ/ผู้บริหารที่ดี ต้องฝึกพฤติกรรมแห่งการเป็นผู้นำ 10 ประการ ดังนี้

1 นักวางแผน (Planning)

2. นักจัดระเบียบ (Organizing)

3. นักประสานงาน( Coordinating)

4. นักสื่อสาร (Communicating)

5. นักมอบหมายงาน(Delegating)

6. นักตัดสินใจ(Decision-Making)

7.นักมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation)

8.นักฝึกอบรม(Training)

9. นักจัดกระบวนการกลุ่ม

10. นักประเมินผลงาน

ปัจจัยในการสร้างความเป็นผู้นำ ขึ้นอยู่กับ 5 ปัจจัยหลัก คือ

1.ภูมิหลังและประสบการณ์ (Background and Experience) พื้นฐานครอบครัวและมวลประสบการณ์เดิมที่ผ่านมาในช่วงชีวิต

2.สติปัญญาและคุณภาพสมอง (Intellectual and mental quality) มีทักษะทางภาษา การติดต่อสื่อสาร / ความสามารถด้านการมีเหตุผล /ความจำ/ความรอบรู้

3.คุณลักษณะทางร่างกาย (Physical attributes) ผู้นำที่ร่างกายแข็งแรง จะมีจิตใจที่ดี

4.บุคลิกภาพและความสนใจ( Personality and Interests) ความสนใจ กระตือรือร้นและความเต็มใจในการปฏิบัติงาน

5.ความเชื่อมั่นในตัวเอง(Self-Confidence) ผู้นำต้องสร้างความเชื่อมั่น/มั่นใจในตัว



คุณสมบัติของผู้นำ ผู้นำ ผู้บริหารที่ดี ต้องมี คุณลักษณะพื้นฐาน 10 ประการ คือ

1.      สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีไหวพริบดี

2.      มีความสามารถในการวิเคราะห์

3.      วิเคราะห์เหตุการณ์ ตัดสินใจดี

4.      มีความคิดริเริ่ม และเป็นผู้รอบรู้

5.      เป็นที่พึ่งแก่เพื่อนร่วมงาน และเชื่อถือไว้วางใจได้

6.      ตัดสินใจแน่นอน ไม่รวนเร

7.      รู้จักปรับตัว ละเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

8.      จิตใจมั่นคง ไม่เอาแต่อารมณ์ของตนเป็นใหญ่

9.      มีคุณลักษณะและความประพฤติส่วนตัวที่ดี

10.   มีคุณลักษณะของผู้นำ

เทคนิคการสร้างเสริมความเป็นผู้นำที่ ฝึกฝนได้ มี 8 ประการ คือ

1.      สำรวจตัวเอง พิจารณาข้อบกพร่อง เปรียบเทียบคุณลักษณะผู้นำที่ดี

2.      ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม โดยเฉพาะด้านบริหาร และ จิตวิทยาสังคม

3.      ฝึกอบรมในสถาบันปรับปรุงบุคลิกภาพ

4.      พัฒนาการสนทนาโต้ตอบ ฝึกการเป็นนักฟัง /นักพูด(ถ่ายทอด)ที่ดี

5.      ปรับปรังบุคลิกภาพ ภายในและภายนอก ของตนเอง

6.      ทบทวนท่าที ที่ปฏิบัติต่อผู้อื่นให้สุภาพนุ่มนวล เป็นปกตินิสัย

7.      ฝึกฝน สังเกตการณ์ กล้าตัดสินใจ

8.      ฝึกฝนตนเองให้เป็นคนมีเหตุผล ในการทำงาน มีความสุขุมรอบคอบ



กล่าวโดยสรุป คุณลักษณะผู้นำที่ทำให้การบริหารงานประสบความสำเร็จ คือ

1.      มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ สุขุมเยือกเย็น

2.      มีวิสัยทัศน์ กว้างไกล

3.      .สามารถบริหารความขัดแย้งได้ดี

4.      กล้าตัดสินใจ รวดเร็ว ถูกต้อง

5.      ติดต่อสื่อสารได้ดี

6.      รอบรู้ในงานที่รับผิดชอบ

7.      มีความขยันขันแข็ง มานะ อดทน

8.      เป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์

9.      สามารถทำงานเป็นทีมได้ดี

10.   วินิจฉัยปัญหา คาดการณ์เหตุการณ์ได้ดี

11.   มีมนุษยสัมพันธ์ ทักษะทางสังคม

12.   .ทำงานในสภาวะกดดัน ตึงเครียดไดดี

13.   มีทัศนคติที่ดีต่อองค์การ

14.   วางแผนและประสานแผนได้ดี

15.   มีสัมพันธภาพที่ดีกับองค์กรอื่น

16.   รู้จักใช้ข้อมูล สารสนเทศให้เกิดประโยชน์

มนุษยสัมพันธ์กับความเป็นผู้นำ บุคคลในองค์กรมี 3 บทบาท คือ

1. มนุษยสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา

·            กำหนดนโยบาย เป้าหมายองค์กรให้ชัดเจน ชี้แจงผู้ใต้บังคับบัญชา

·            กำหนดอัตราค่าจ้างที่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง

·            สั่งการให้มีความชัดเจน ไม่กำกวม

·            มีความซื่อสัตย์ต่อคำสั่งที่สั่งออกไป ไม่กลับคำ ซัดทอดความผิดให้ลูกน้อง

·            สอนงาน หรือ อธิบายงาน ให้ชัดเจน

·            ติดต่อสื่อสารได้ชัดเจน และทั่วถึงกับลูกน้อง

·            มีความยืดหยุ่นในการทำงานในเรื่องกฎเกณฑ์ ระเบียบ ตามสมควรแก่เหตุ

·            ใช้วินัยควบคุมให้เสมอภาค ไม่เลือกที่รัก มักที่ชัง

2. มนุษยสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา

·            ตั้งใจทำงาน รับฟังคำชี้แจงของหัวหน้าด้วยความตั้งใจ

·            ไม่นินทาผู้บังคับบัญชา (ลูกน้องไม่จงรักภักดี+ไม่เคารพนับถือ)

·            มีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนางาน โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ

·            หลีกเลี่ยงการประจบสอพลอ

·            สนับสนุนกิจการของผู้บังคับบัญชา เรียนนิสัยของผู้บังคับบัญชา

·            ไม่ควรคล้อยตามผู้บังคับบัญชาทุกเรื่องโดยไม่มีเหตุผล

·            ปกป้องไม่ให้ผู้บังคับบัญชาเสียหน้า หรืออับอาย 8.ไม่ก่อศัตรูกับเพื่อนร่วมงาน

·            ไม่บ่นถึงความยากลำบากของการงานที่ได้รับมอบหมาย

·            มีความจงรักภักดี ซื่อสัตย์และจริงใจต่อผู้บังคับบัญชา

3. มนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน

·            จริงใจต่อเพื่อนร่วมงาน

·            ให้ความช่วยเหลือเพื่อนในการงาน

·            รับผิดชอบร่วมกัน ไม่ซัดทอดความผิดให้เพื่อน

·            ให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน

·            ให้ความสนใจเพื่อนอย่างจริงใจ

·            ยอมรับความเป็นตัวตนของเพื่อน

·            เข้าใจความต้องการ และความรู้สึกของเพื่อน

·            เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย

·            สนใจในสิ่งที่เพื่อนพูด พูดในสิ่งที่เพื่อนสนใจ

·            ยิ้มและมีอารมณ์ขันตามควร

·            มีมารยาทที่ดี ต่อเพื่อนๆ

·            ให้ความรัก ความเคารพความคิดเพื่อน

·            มีคุณธรรมในการติดต่อเพื่อนๆ (เมตตา กรุณา เห็นใจ ให้ความช่วยเหลือ)

·            .มีความซื่อสัตย์ต่อเพื่อน


ปล.มีมากกว่านี้แต่ยาวมาก  ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ผมจะทิ้งลิงค์ให้ไปอ่านตัวเต็มกันนะครับ
จาก... https://sites.google.com/site/goimage88/home/1/2-third-eye/3-melatonin/4-rabb-phumi-tanthan/5-sukhphaph-cit/6-thrrmchati-khxng-mnusy/u7-phathnakar-thang-bukhlikphaph/8-thrrmchati-mnusy/9-kar-taeng-kay/10-bukhlikphaph-kab-khwam-sarec/11-sukhphaph-cit/12-thekhnikh-kar-kae-payha/13-phvti-krr-mnusy/14-kar-mxng-thalu-kaen-thae-khxng-mnusy




แถมท้ายเล็กๆ  เขียนเสร็จแล้วอยากเอามาลงลองฝีมือบ้าง  จากในเรื่องข้างบนผมเอาส่วน  กามคุณ  ขันติ  ความโลภ  3 อย่างนี้มาเขียนครับ[/color]


แก่นแท้ของมนุษย์ : อัตลักษณ์  ทางเลือก  และทางแก้ไขเชิงปฏิบัติ

      ปลงแล้วหรือยัง  นั่นคือถ้อยคำที่เขามักได้ยินทุกครั้งตั้งแต่สมัยเด็กๆเมื่อเข้าสู่สถานที่อันสงบร่มเย็นซึ่งทุกคนเรียกว่าวัด  ในบางครั้งเขาก็สงสัยว่ามันคืออะไร  ปลงนี้หน้าตาเป็นอย่างไรแต่สุดท้ายเมื่อเขาก้าวเท้าออกจากวัดมันก็ไม่ได้ทำให้เขากระจ่างขึ้นมาเลยสักนิดว่าคำว่าปลงนั้นมีความหมายว่าอย่างไร


      เมื่อครั้งที่ชีวิตเติบโตขึ้น  ชีวิตเริ่มมีปัญหามากมายมารุมเร้า  เพื่อนฝูงคนสนิทต่างสวมหน้ากากเข้าหากันเพื่อแย่งชิงไขว่คว้ายศถาบรรดาศักดิ์กันขวักไขว่มากมาย  แย่งชิงอำนาจกันด้วยความโลภ  ไม่มีใครที่สามารถเชื่อใจได้  ใครคนหนึ่งจึงถามขึ้นมาอีกครั้ง...ปลงแล้วหรือยัง  นั่นเป็นอีกครั้งที่ทำให้เขาได้คิดและสงสัยอีกครั้ง  ปลง...มันคือการปล่อยวางหรืออย่างไร  แต่สิ่งที่เขาได้จากคำถามนั้นมันสะกิดใจให้เขาได้รู้อะไรบางอย่างนั่นคือคนเราล้วนมีสิ่งที่เหมือนกันทุกผู้ทุกคน  ไม่ได้ต่างกันเลยสักนิด  นั่นคืออัตลักษณ์ที่ถูกหล่อหลอมขึ้นมาจากเบ้าหลอมแห่งสังคม  ราวกับเครื่องจักรจากโรงงานมนุษย์ขนาดใหญ่โดยอัตลักษณ์เหล่านั้นได้เปลี่ยนแปลงไปตามอายุของคนแต่มันไม่ได้สร้างคนให้ดีขึ้นเลย  มันเพียงสร้างให้คนกลายเป็นเครื่องจักร  กลายเป็นฟันเฟืองแห่งกิเลสของสังคมสมัยใหม่เท่านั้น


      อัตลักษณ์แห่งสังคมสมัยใหม่นั้นมีทั้งหมดสามสิ่งหลัก  นั่นคือ  ความมักมากในกาม  ความขาดสติ  ความโลภ  ซึ่งเป็นไปตามสังคมแห่งวัยหล่อหลอมให้กลายเป็นอัตลักษณ์ของทุกผู้คนในแต่ละช่วงชีวิต  นั่นคือ 
      

      ในวัยเด็กของเขาที่ผ่านมาเมื่อเนิ่นนานแล้วนั้น  เมื่อมองย้อนกลับไปในสังคมแห่งวัยรุ่นชายหญิงก่อให้เกิดความสงสัยและหลงไหลได้ปลื้มในความต้องการเป็นที่สนใจ  อันเป็นอัตลักษณ์แห่งกาม  ซึ่งนั่นไม่ได้หมายถึงเพียงราคะแต่มันคือความปรารถนา  ความทะเยอทะยาน  ต้องการเด่นดังสูงส่ง  สิ่งนั้นทำให้เหล่าวัยรุ่นทั้งหลายต่างมีความทะเยอทะยาน  ต้องการความสนใจจากทั้งครอบครัวและคนรอบข้าง  ถ้าเพียงเขาได้รู้และหลีกเลี่ยงที่จะเป็นไปตามอัตลักษณ์แห่งสังคม  มีวินัยในการควบคุมความปรารถนาทั้งหลายช่วงชีวิตในวัยรุ่นของเขานั้นคงมีความสุขและสบายใจมากกว่าที่เคยเป็นนัก


      เมื่อถึงวัยกลางคนอันเป็นอดีตที่ผ่านมาไม่นานเท่าไรนักของเขา  สังคมได้หล่อหลอมให้คนในวัยนี้ต้องมีอัตลักษณ์คือขาดความอดทนจากปัญหาที่เข้ามารุมเร้าและความรับผิดชอบในการงานทั้งหลาย  ก่อให้เกิดอารมณ์ฉุนเฉียวรุนแรง  เกรี้ยวกราดกับทั้งคนในครอบครัวและผู้คนรอบข้าง  ซึ่งหากในช่วงวัยนั้นของเขาเพียงรับรู้อารมณ์ที่เป็นด้วยใจเป็นกลางและถือขันติธรรม  ไม่ใจร้อน  วู่วาม  ปัญหาทั้งหลายคงจะแก้ได้ด้วยความสุขุมรอบคอบรวมทั้งผู้คนรอบข้างคงไม่ต้องรับรู้ถึงอารมณ์ที่เกรี้ยวกราดของเขาไปด้วยเป็นแน่


      กระทั่งถึงวัยชรา  ความอยากเด่นอยากดังเมื่อวัยเด็กไม่ใช่สิ่งที่สำคัญอีกต่อไป  การงานหรือปัญหาต่างๆในชีวิตไม่ได้เป็นอะไรไปมากกว่าเศษฝุ่นผงอันบางเบาที่ถูกสายลมพัดเข้าตาให้เกิดความรำคาญเพียงเล็กน้อย  กระนั้นอัตลักษณ์แห่งวัยนั่นคือความโลภ  ทั้งจากความต้องการมีชีวิตที่ยืนยาว  ความต้องการอำนาจยศฐาเพื่อควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นดั่งใจนึก  สิ่งเหล่านั้นไม่ได้มีอะไรที่ทำให้ชีวิตมีความสุขได้เลยสักนิด  มีเพียงแต่ทำให้ยึดติดกับการมีชีวิต  ยึดติดกับสิ่งที่ไม่ใช่ของตนและทำให้เกิดแต่ความทุกข์ทรมานในบั้นปลายชีวิตซึ่งไม่มีความจำเป็นเลยกับสิ่งเหล่านี้  ถ้าเพียงเขาละทิ้งความโลภโมโทสัน  เพียงปล่อยให้คนยุคใหม่ได้ขึ้นมายืนแทนที่แล้วมองดูพวกเขาเหล่านั้นอยู่เงียบๆ  ใช้ชีวิตกับบั้นปลายที่เหลือด้วยสติ  ความสุขนั้นก็จะบังเกิดในใจจวบเท่าถึงบั้นปลายชีวิต


      ...ปลงแล้วหรือยัง เสียงคำถามสั้นๆยังคงดังก้องกังวานท่ามกลางความมืดมิด  เขานั่งประนมมือต่อหน้าพระคุณเจ้า  นั่งฟังธรรมเทศนาอย่างนอบน้อมในช่วงเวลาอันดึกสงัดของกองอสุภซากในป่าช้าและเป็นช่วงเวลาแห่งความกระจ่างชัดแห่งชีวิตแม้ว่ามันจะสายไปสำหรับเขาก็ตาม




kazu36

#1
ขอบคุณครับ เนื้อหา น่าสนใจ หลาย เรื่อง ไม่เคยอ่าน แนวพฤติกรรมศาสตร์ หรือครับ?

ประมาณนั้นครับ  เป็นจิตวิทยาผสมความเข้าใจการใช้ชีวิตและการวางตัวในแต่ละช่วงวัยครับ

P Eet ✦Diamond✦

#2
Hhhmmm...
Very nice paper indeed ...

Seems like your GF is studying Psychology and sociology?? 
The human behavioral term paper is among one of the requirements for this course...     

แฟนผมไม่ได้เรียนทางด้านนี้โดยตรงหรอกครับแต่เป็นวิชาบังคับของหลักสูตรที่ต้องเรียนแต่เขาเขียนอะไรแบบนี้ไม่ค่อยเก่งเลยให้ผมช่วยหาข้อมูลตาหัวข้อที่อาจารย์สั่งมาแล้วเขียนให้
Disclaimer: The view and opinion expressed on this website are solely those of my very own. It is solely for the purpose of entertainment and has NO meaningful value of any kind. They DO NOT necessarily represent those of the majority of READERS & WRITERS of this website staff, and/or any/all contributors to this site.

ஜ۩۞۩ஜ THANK YOU ஜ۩۞۩ஜ 



❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀

DIAMONDS ARE FOREVER !!!

   ..... (¯`v´¯)♥
   .......•.¸.•´
   ....¸.•´
   ... (
   ☻/
   /▌♥♥
   / \ ♥♥

cyborg0011

ิอืม...เท่าที่อ่านดูแล้ว เห็นได้ชัดว่ามีความรู้รวบยอดมากมาย ที่มนุษย์--คน--ไม่สามารถปฏิบัติได้แม้จะรู้กันแล้วว่าประเสริฐเลิศวิทยา

pongsan

นานๆจะมีบทความวิชาการ....ไว้จะเข้ามาอ่านละเอียดอีกที! เพราะมันยาว ::Foo:: ขอบคุณครับ ::Thankyou::

aliass

โห เว็ปนี้เวลาจะวิชาการ ก็จัดเต็มซะอ้าปากค้างเลย ฮาาา ถ้าสติดีๆ จะมาอ่านอีกรอบ อ่านไปรบ มึน ฮาาา

mikoto2288

#6
เรื่องบางเรื่อง ถ้าไม่ถึงเวลาที่สมองพร้อม ใจพร้อม
อ่านเท่าไรเห็นเท่าไรก็เห็นเป็นเพียงอากาศธาตุครับ

อย่างบทความที่ท่านโจ๊กนำมา ผมคิดว่าเป็นบทความที่ดีเลยนะ
เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเป็นผู้นำ หรือหัวหน้างานบางอย่าง
แต่ไม่เหมาะสำหรับคนที่คิดจะเป็นแค่ลูกจ้างไปวันๆ ไม่ได้คิดพัฒนาตัวเอง

การเป็นหัวหน้างานทั่วๆไปมันไม่ได้มีคนมานั่งสอน หรือหนังสือให้อ่านเพื่อเพิ่มสกิลแบบโปรแกรม
แต่มันเกิดจากหลายๆอย่างรวมกัน เช่น การเลี้ยงดู การสั่งสอน ทัศนคติส่วนตัว ศาสนา ความเชื่อมั่น อุปนิสัย
ซึ่งทุกๆอย่างต้องประกอบกันในช่วงเวลาที่ดีและอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นใจด้วย

ผมแบ่งการเป็นหัวหน้างานได้ 3 แบบ
1.คนที่อยู่มานาน เก่งเรื่องงาน และเป็นที่ยอมรับของคนภายในองค์กร
หัวหน้าประเภทนี้มักจะเป็นคนที่มีประสบการณ์ มีความรู้และการจัดการที่ดี
มีจิตใจมั่นคงกับองค์กร การเป็นลูกน้องคนแบบนี้จะไม่เครียดในด้านการทำงาน
แต่จะเครียดในด้านการเติบโต เพราะคุณอาจต้องรอเขาเกษียณถึงจะขึ้นเป็นหัวหน้าแทนได้

2.คนที่เก่งมากๆ จนสามารถใช้ความสามารถไต่เต้าจนขึ้นมาเป็นหัวหน้า
หัวหน้าประเภทนี้อาจจะมาพร้อมกับอายุที่น้อยกว่า ดีไม่ดีน้อยกว่าคุณด้วยซ้ำ ดังนั้นเขาจึงขาดหลายอย่างมาก
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คนพวกนี้เก่งมากในด้านการคิดเชิงตรรกะ คุณสามารถติดตามแล้วดูดวิชาจากคนพวกนี้ได้
คนประเภทนี้ชอบปล่อยของ การที่มีอายุน้อยอาจทำให้คนในแผนกไม่ค่อนสนับสนุน อาจเป็นส่วนที่ทำให้อยู่ไม่นานก็ไปโตที่อื่น

3.เป็นลูกหรือเครือญาติของเจ้าขององค์กร
สั้นๆนะ โคตรเหี้ย ไม่มีอะไรเลย มีแต่ลม 555+

อธิบายชัดเจนมากเลยครับ 555  จริงครับ  มันขึ้นอยู่กับสังคมและการเลี้ยงดูที่เราอยู่จริงๆในเรื่องความเป็นผู้นำเนี่ยส่วนเรื่องอื่นๆถ้าเรารู้แต่ทำไม่ได้มันก็เท่านั้น  เอาเป็นว่าบทความนี้ไว้ประดับความรู้ดีกว่า  ผมอ่านแล้วก็ไม่สามารถเหมือนกัน 5555
พูดคุยกันได้ที่ Id Skype : mikoto2288

HypN♥s

#7
บทความน่าสนใจมาก แต่ยังอ่านไม่ละเอียด ขออนุญาตเอาบทความไปแชร์ต่อได้มั้ยครับ

เดี๋ยวจะค่อยๆอ่าน

ได้เลยครับท่านฮิบ  ยินดีอย่างยิ่งครับ

Kamen Rider V-3

#8
ชอบครับ เรื่องแนวนี้ ไม่ใช่หาอ่านกันได้ง่ายๆ มนุษย์ยังต้องศึกษามนุษย์ด้วยกันอีกมาก

ขอบคุณมากสำหรับสาระดีๆอย่างนี้

ยินดีคร้าบบบ
งานเก่าๆของผมเชิญได้ที่ ลิงค์ด้านล่าง

https://xonly8.com/index.php?topic=164918.msg651695#msg651695

ขอบคุณท่าน Kaithai ที่กรุณาจัดทำลิงค์นะครับ

swbkk

#9
โห....ว่าจะเข้ามาหาเรื่องเสียวอ่าน มาได้ความรู้ทางวิชาการแถมอีกต่างหาก   ใครว่าเว็บเรามีแต่หื่นน้าาาา    ไม่จริงๆๆๆ   ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

ยินดีมากๆครับ  ::Glad::

cd13579

#10
วันหลังเอาบ้างดีกว่า หาบทความกฎหมายมาลงบ้าง 55555+ ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ
ว่าแต่แฟนคุณโจ๊กเรียนอะไรครับเนี่ย บรอหาร/จิตวิทยา
ป.ล. อ่านมันง่ายกว่าการทำจริงเยอะครับ อ่านไปเท่าไหร่ไม่มีความตั้งใจก็เท่านั้น


แฟนเรียนวิศวะครับ แต่ต้องเรียนวิชามนุษย์กับสังคมเป็นวิชาในหลักสูตร  มันก็เลยออกจะปวดหัวจนต้องเอามาให้ผมทำให้นี่แหละ5555 
ปล. วิชาจิตวิทยาในหลักสูตรของกฏหมายก็น่าสนใจนะครับ555
ใครหื้อใครซ่า ข้าแบนเรียบ

soxman

วิชาการมากๆเลยครับ เนื้อหาแน่น ขอบคุณครับ