ข่าว:

🎉🎉🎉 XONLY เปิดรับลงทะเบียนสมาชิกใหม่อีกครั้ง จำกัดวันละ 50 คน จนกว่าแอดมินจะขี้เกียจรับ😀

Main Menu

แก่ตัวแล้ว! ทำไมคอไม่ทำงาน ที่นี่มีคำตอบ

เริ่มโดย 02766132, กุมภาพันธ์ 13, 2010, 06:05:26 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

02766132

"โอ๊ยๆ" คำๆ นี้ มักเป็นเสียงที่ได้ยินกันบ่อย เมื่อญาติผู้ใหญ่ในบ้าน ที่อายุล่วงเข้าเลข 4 หรือ ราวๆ เลข 6 จะมีอาการปวดหลัง ปวดแขน ปวดคอ โดยเฉพาะ "คอ" ที่จะเป็นกันค่อนข้างมาก ส่งผลให้การนอนหลับไม่เต็มอิ่ม เนื่องมาจากปวดที่คอในการนอนบางท่า ซึ่งอาการเหล่านี้ ถ้าปล่อยเรื้อรังไว้นาน อาจนำไปสู่โรคกระดูกคอเสื่อม และอักเสบได้
       
       ปัญหาที่เกิดขึ้น "นพ.พุทธิพร เธียรประสิทธิ์" ผู้อำนวยการอาวุโส สถาบันโรคกระดูกสันหลังกรุงเทพ ได้อธิบายถึงสาเหตุว่า อายุเป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ข้อต่อระหว่างกระดูกคอแก่ตัวไปพร้อมๆ กับร่างกาย โดยเริ่มค่อยๆ เสื่อมตั้งแต่อายุ 35-40 ปี ทำให้มีอาการฝืดเคือง เมื่อจะพยายามเหลียวเต็มที่ และเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป การเหลียวทีละข้างเกิน 90 องศา มักจะทำได้ไม่สะดวก และมีอาการปวดคอแทรกซ้อน เมื่อฝืนจะทำให้ข้อทำงานมากเกินกำลัง
       
       ทั้งนี้ การแก่ตัวของข้อกระดูกคอยังก่อให้เกิดกระดูกงอกในด้านของข้อ ซึ่งถ้างอกเกินขนาด จะทำให้ปวดลงแขน มือ และนิ้วได้ สำหรับในรายที่มีกระดูกงอกมาก อาจจะมีอาการชาที่นิ้วมือ หรือแขน และทำให้แขน และมือ อ่อนแรงตามไปด้วย
       
       นอกจากนี้ ด้านหนึ่งของโรคกระดูกคอ ที่ไม่ได้รับความสนใจมากเท่าที่ควร คือ อาการปวดคอเมื่อแหงนคอ และเมื่อนอนหนุนหมอนนอน ทำให้ญาติผู้ใหญ่นอนหลับไม่เต็มที่ อย่างไรก็ดี ถ้าได้รับการตรวจรักษาที่ถูกต้อง กลุ่มอาการนี้จะดีขึ้น ทำให้ผู้ป่วยสามารถนอนหลับได้สนิท และตื่นขึ้นมาด้วยความสดใส ซึ่งการใช้หมอนช่วยประคับประคองกระดูกคอ การนวด หรือบริหาร และการใช้ยาแก้อักเสบเป็นพักๆ มีส่วนช่วยได้มาก แต่ในการผ่าตัดเพื่อเชื่อมข้อที่เป็นสาเหตุ จะมีผลช่วยได้มากกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแพทย์เฉพาะทาง
       
       คุณหมอให้ความรู้ต่อว่า คอของคน ประกอบด้วยกระดูกคอ (Cervical Spine) ทั้งหมด 7 ข้อ หรือที่เรียกว่ากระดูก C1-C7 ระหว่างกระดูกแต่ละข้อมีแผ่นกระดูกอ่อนหรือที่เรียกว่าหมอนรองกระดูกคั่นกลางทำหน้าที่ป้องกันการเสียดสี และเป็นเสมือนโช๊คอัพเพื่อดูดซับ และกระจายแรงอัด ส่วนกระดูกที่เราคลำได้เป็นตุ่มๆ ที่อยู่ด้านหลังของคอนั้นเป็นกระดูกที่ยื่นออกจากส่วนหลังของกระดูกคอ ตรงกลางของกระดูกนี้มีลักษณะเป็นรูให้ประสาทไขสันหลังและหลอดเลือดสอดผ่าน ระหว่างรอยต่อของกระดูกคอแต่ละข้อจะมีช่องว่างให้รากประสาทงอกออกมา เพื่อนำคำสั่งจากสมองไปยังกล้ามเนื้อที่ไหล่ แขนและมือ และรับความรู้สึกส่วนต่างๆ กลับไปยังสมอง
       
       ดังนั้น กระดูกคอมีขนาดเล็กแต่ต้องแบกรับน้ำหนักของศีรษะที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา จึงเกิดความบอบช้ำบาดเจ็บได้ง่ายและเสื่อมได้เร็วกว่า ส่งผลกระทบต่อเส้นประสาท หลอดเลือดและไขสันหลังที่อยู่บริเวณเดียวกัน ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดต้นคอ ไหล่และสะบัก ปวดร้าวและชาที่แขนและมือ พร้อมทั้งอาการอื่นๆ ที่สลับซับซ้อน จนบางครั้งนึกไม่ถึงว่าการเจ็บปวดทรมานนี้มาจากกระดูกคอเรานี่เอง

 สำหรับสาเหตุที่พบได้มาก คุณหมอบอกว่า เกิดจากภาวะเสื่อมลงตามวัย โดยอาจจะไปกดทับเส้นประสาท หลอดเลือดหรือไขสันหลังที่อยู่บริเวณเดียวกัน ซึ่งพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป หรืออิริยาบถ/ท่าที่ใช้ผิดลักษณะ เช่น การหนุนหมอนสูงเกินไป การทำงานในท่าเดียวนานๆ นั่งเขียนหนังสือ นั่งดูเอกสาร นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ นั่งดูทีวี เป็นต้น
       
       นอกจากนี้ ยังเกิดขึ้นกับคนที่มีการเคลื่อนไหวคอเร็วเกินไป หรือรุนแรงเกินไป เช่น การก้มเพื่อมองหาของใต้โต๊ะ การเอี้ยวตัวเพื่อหยิบของข้างหลัง การหกล้ม การเล่นกีฬา หรือโยคะ การนวด หรือ การดัดตัว เป็นต้น ทำให้เส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อคอถูกยืดมากหรือมีการฉีกขาดจนเกิดอาการปวดคอ รวมไปถึงข้ออักเสบ ข้ออักเสบเรื้อรังบางชนิดอาจทำให้กระดูกคออักเสบไปด้วย เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น และที่สำคัญ ความเครียดทางจิตใจ จะทำให้กล้ามเนื้อคอตึงตัวเป็นประจำจนส่งผลกระทบต่อกระดูกคอได้
       
       สำหรับทางออกเบื้องต้นที่จะช่วยญาติผู้ใหญ่ในบ้านได้นั้น คุณหมอแนะว่า การบริหารเป็นประจำ รวมทั้งการนวด หรือใช้กายภาพบริหาร มีโอกาสช่วยให้อาการบรรเทาได้ เนื่องจากข้อกระดูกอักเสบ อาจจะต้องการใช้การบริหาร หรือนวดบ่อยครั้ง เมื่อมีอาการ แต่ละครั้งที่มีอาการกำเริบ อาจจะต้องพบนักกายภาพบำบัด ถึง 7-8 ครั้ง ก่อนที่อาการจะดีขึ้น หรือ การใช้เครื่องภายนอกช่วยบรรเทางานของกล้ามเนื้อคอ เช่น การใส่ปลอกคอ อาจจะช่วยให้อาการเจ็บคอ และแขน บรรเทาลงได้เร็วขึ้น หลังจากที่อาการบรรเทาจากการใส่ปลอกคอ ควรจะตามด้วยกายภาพบำบัด เพื่อช่วยรักษาอาการหมุน และเงยคอ ไมให้เสียไป
       
       ในรายที่อาการเจ็บยังไม่ดีขึ้น ควรจะต้องใช้การฉีดยาลดอาการอักเสบเข้าช่วยที่คอเป็นครั้งๆ ในรายที่มีอาการเจ็บ ชา หรืออ่อนแรงลงแขน ควรจะพบแพทย์ผู้ชำนาญด้านกระดูกสันหลัง เพื่อรับคำปรึกษา และในรายที่มีแขนชา หรืออ่อนแรงมาก อาจจะต้องคิดถึงการผ่าตัด เพื่อที่จะรักษาอาการ และอนุรักษ์การทำงานของเส้นประสาทที่ถูกกดโดยกระดูกงอก
       
       "เมื่อมีอาการปวดคอ ปวดหลัง ส่วนใหญที่เห็นจะหันไปพึ่งหมอนวดตามร้านต่างๆ ซึ่งเรื่องนี้ ผมไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะเราไม่รู้ว่าเขาเรียนทางด้านนี้มาเฉพาะทางหรือเปล่า หรือผ่านหลักสูตรการอบรมที่น่าเชื่อถือได้หรือไม่ เมื่อไม่เป็นไปตามที่ว่า อาจทำให้เกิดอันตรายได้ ดังนั้นจึงต้องศึกษาให้ดีก่อนการนวด เช่น มีใบรับรองการนวดจากสถาบันที่น่าเชื่อถือหรือไม่" นพ.พุทธิพรฝากทิ้งท้าย
เกลียดพวกหมิ่นเบื้องบนและเผาบ้านเผาเมือง