ข่าว:

🎉🎉🎉 XONLY เปิดรับลงทะเบียนสมาชิกใหม่อีกครั้ง จำกัดวันละ 50 คน จนกว่าแอดมินจะขี้เกียจรับ😀

Main Menu

แสนยานุภาพ F -15 Eagle

เริ่มโดย armag, มีนาคม 27, 2010, 11:26:07 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

armag

แก้ไขล่าสุด armag เมื่อ 2010-3-27 14:08

ต้นกำเนิด
ในปีพ.ศ. 2510 หน่วยข่าวกรองสหรัฐประหลาด[2] เมื่อรู้ว่าสหภาพโซเวียตกำลังสร้างเครื่องบินขับไล่ขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่ามิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-25[3] ในตอนนั้นทางฝั่งตะวันตกไม่รู้ว่ามิก-25 ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นเครื่องบินสกัดกั้นความเร็วสูง (ไม่ใช่เครื่องบินครองความได้เปรียบทางอากาศ)[4] ดังนั้นจุดเด่นของมันคือความเร็วไม่ใช่ความคล่องตัว หางที่ใหญ่ของมิก-25 นั้นทำให้เครื่องบินบางลำของสหรัฐเสียเปรียบ มันทำให้กองทัพอากาศกลัวว่ามันจะทำงานได้ดีกว่าเครื่องบินของอเมริกา ในความเป็นจริงครีบและหางที่ใหญ่ของมิก-25 มีไว้เพื่อจัดการกับความเฉื่อยในการบินด้วยความเร็วสูงและระดับสูง
เอฟ-4 แฟนทอม 2 ของกองทัพอากาศและกองทัพเรือสหรัฐเป็นเครื่องบินขับไล่แบบเดียวที่มีกำลังและความคล่องตัวพอที่จะจัดการกับภัยคุกคามจากเครื่องบินขับไล่ของโซเวียต[3] ตามนโยบายแฟนทอมนั้นไม่สามารถปะทะกับเป้าหมายโดยที่ยังไม่เห็นอย่างจัดเจนได้ ดังนั้นพวกมันจึงไม่สามารถจัดการกับเป้าหมายในระยะไกลได้ตามที่ถูกออกแบบมา ขีปนาวุธพิสัยกลางเอไอเอ็ม-7 สแปร์โวร์และแม้กระทั่งเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ก็ไม่มีประสิทธิภาพในระยะใกล้ซึ่งพบว่าปืนมักเป็นอาวุธที่ดีกว่าในระยะดังกล่าว[5] เดิมทีแฟนทอมไม่มีปืนแต่ประสบการณ์จากสงครามเวียดนามทำให้ต้องเพิ่มปืน เข้าไป ปืนถูกติดเข้าไปที่ด้านนอกและต่อมาเอ็ม61 วัลแคนก็ถูกใช้กับเอฟ-4อี


แบบพื้นฐาน
เอฟ-15เอ
เป็นเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศในทุกสภาพอากาศแบบหนึ่งที่นั่ง สร้างออกมา 384 ลำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2515-2522[49]
เอฟ-15บี
แบบสองที่นั่งสำหรับการฝึก เดิมทีใช้ชื่อทีเอฟ-15เอ สร้างออกมา 61 ลำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2515-2522[49]
เอฟ-15ซี
เป็นเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศในทุกสภาพอากาศแบบหนึ่งที่นั่งที่ได้รับการพัฒนาเพิ่ม สร้างออกมา 483 ลำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2522-2528[49]
เอฟ-15ดี
แบบสองที่นั่งสำหรับการฝึก สร้างออกมา 92 ลำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2522-2528[49]
เอฟ-15เจ
เป็นเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศในทุกสภาพอากาศแบบหนึ่งที่นั่งสำหรับกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่น สร้างออกมา 139 ลำภายใต้ใบอนุญาตโดยมิตซูบิชิตั้งแต่ปีพ.ศ. 2524-2540 สร้างในเซนต์หลุยส์[49]
เอฟ-15ดีเจ
แบบสองที่นั่งสำหรับการฝึกของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่น สร้างออกมา 25 ลำในญี่ปุ่นโดยมิตซูบิชิตั้งแต่ปีพ.ศ. 2524-2540 ในเซนท์หลุยส์[49]
เอฟ-15เอ็น ซีอีเกิล
แบบสำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินที่ยื่นข้อเสนอในทษวรรษที่ 1970 ให้กับกองทัพเรือสหรัฐ เอฟ-15เอ็น-พีเอชเอ็กซ์เป็นอีกข้อเสนอสำหรับการใช้ขีปนาวุธเอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์ จุดเด่นเหล่านี้คือปลายปีก อุปกรณ์ลงจอดพิเศษ และตะขอที่หางเพื่อการลงจอดบนเรือ[50]
เอฟ-15อี สไตรค์อีเกิล
ดูที่เอฟ-15อี สไตรค์อีเกิลสำหรับเอฟ-15อี เอฟ-15ไอ เอฟ-15เอส เอฟ-15เค เอฟ-15เอสจี เอฟ-15เอสอี และเอฟ-15อีแบบอื่นๆ
[แก้]แบบการวิจัยและทดสอบ
เอฟ-15 สตรีคอีเกิล (72-0119)
เป็นเอฟ-15เอที่ใช้เพื่อสาธิตการเร่งความเร็วของเครื่องบิน มันได้ทำลายสถิติการไต่ระดับด้วยเวลาไป 8 ครั้งระหว่างวันที่ 16 มกราคมและ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 มันถูกส่งมอบให้กับพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2523[51]
เอฟ-15 เอส/เอ็มทีดี (71-0290)
เป็นเอฟ-15บีลำแรกที่ถูกดัดแปลงให้วิ่งขึ้นและลงจอดในระยะสั้น มันเป็นเครื่องบินสาธิตเทคโนโลยีกระบวนท่า[52] ในปลายทศวรรษที่ 1980 มันได้รับการติดตั้งปีกเสริมพร้อมกับท่อไอเสียทรงสี่เหลี่ยม มันใช้เทคโนโลยีกระบวนท่าและวิ่งขึ้นระยะสั้นหรือเอสเอ็มทีดี (short-takeoff/maneuver-technology, SMTD) [53]
เอฟ-15 แอคทีฟ (71-0290)
เอฟ-15 เอส/เอ็มทีดีที่ต่อมาถูกดัดแปลงให้เป็นเครื่องบินวิจัยเทคโนโลยีควบคุมการบิน[52]
เอฟ-15 ไอเอฟซีเอส (71-0290)
เอฟ-15 แอคทีฟต่อมาถูกดัดแปลงให้เป็นเครื่องบินวิจัยระบบควบคุมการบินด้วยปัญญาประดิษฐ์ เอฟ-15บี หมายเลขเครื่อง 71-0290 เป็นเอฟ-15 ที่ยังทำการบินอยู่โดยมีอายุมากที่สุดในเดือนมกราคม พ.ศ. 2551[53]
เอฟ-15 เอ็มเอเอ็นเอ็กซ์
เป็นชื่อของเอฟ-15 แอคทีฟที่ไม่มีหาง แต่ก็ไม่เคยถูกสร้างขึ้นมา
เอฟ-15 สำหรับวิจัยการบิน (71-0281 และ 71-0287)
เอฟ-15เอสองลำถูกใช้ทดลองโดยศูนย์วิจัยการบินดรายเดนของนาซ่า การทดลองรวมทั้ง การควบคุมอิเลคทรอนิกดิจิตอลรวมหรือไฮเดก (Highly Integrated Digital Electronic Control, HiDEC) ระบบควบคุมเครื่องยนต์หรือเอเดกส์ (Adaptive Engine Control System, ADECS) ระบบควบคุมการบินค้นหาและซ่อมแซมตัวเองหรือเอสอาร์เอฟซีเอส (Self-Repairing and Self-Diagnostic Flight Control System, SRFCS) และระบบเครื่องบินควบคุมการเคลื่อนที่หรือพีซีเอ (Propulsion Controlled Aircraft System, PCA)[54] เครื่องหมายเลข 71-0281 ถูกส่งกลับให้กองทัพอากาศและถูกนำไปจัดแสดงที่ฐานทัพอากาศแลงลีย์ในปีพ.ศ. 2526
เอฟ-15บี รีเซิร์จเทสท์เบด (74-0141)
ในปีพ.ศ. 2536 เอฟ-15บีลำหนึ่งถูกดัดแปลงและใช้โดยนาซ่าเพื่อทำการทดสอบการบิน

รายละเอียด
ลูกเรือ นักบิน 1 นาย
ความยาว 19.43 เมตร
ระยะระหว่างปลายปีกทั้งสองข้าง 13.05 เมตร
ความสูง 5.63 เมตร
พื้นที่ปีก 56.5 ตารางเมตร
น้ำหนักเปล่า 12,700 กิโลกรัม
น้ำหนักบรรทุก 20,200 กิโลกรัม
น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 30,845 กิโลกรัม
ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนแพรทท์แอนด์วิทนีย์ เอฟ100-100 -220 หรือ -229 จำนวน 2 เครื่อง เมื่อใช้สันดาปท้ายจะให้กำลังเครื่องละ 25,000 ปอนด์สำหรับ -220 และ 29,000 ปอนด์สำหรับ -229
ความเร็วสูงสุด
ระดับสูง 2.5 มัค (2,660 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ระดับต่ำ 1.2 มัค (1,450 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
รัศมีทำการรบ 1,967 กิโลเมตร
ระยะทำการขนส่ง 5,550 กิโลเมตร (มีถังเชื้อเพลิงเพิ่ม)
เพดานบินทำการ 65,000 ฟุต
อัตราการไต่ระดับ 50,000 ฟุตต่อนาที
บินทน: 5.25 ขั่วโมง เมื่อไม่ได้เติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ และ 9.7 ชั่วโมง เมื่อเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ
อาวุธ
ปืน ปืนแกทลิ่งเอ็ม61เอ1 ขนาด 20 ม.ม.หนึ่งกระบอกพร้อมกระสุน 960 นัด
ขีปนาวุธ เอไอเอ็ม-7เอฟ สแปร์โรว์ เอไอเอ็ม-120 แอมแรม เอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่