ข่าว:

🎉🎉🎉 XONLY เปิดรับลงทะเบียนสมาชิกใหม่อีกครั้ง จำกัดวันละ 50 คน จนกว่าแอดมินจะขี้เกียจรับ😀

Main Menu

เปิดช่องโหว่ "English Program" คิดให้หนัก! ก่อนส่งลูกเรียน

เริ่มโดย 02766132, เมษายน 30, 2010, 06:09:28 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

02766132

หากจะกล่าวถึงหลักสูตร English Program (EP) และ International Program (IP) การเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นแกนกลาง และใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการเรียนการสอน คงต้องยอมรับว่า ได้รับความสนใจ และความนิยมจากพ่อแม่คนไทยจำนวนไม่น้อย แต่ก็คงไม่สามารถรับประกันได้เต็มร้อยว่า หลักสูตรเหล่านี้ จะช่วยส่งเสริมให้เด็กเก่งภาษาอังกฤษได้เร็ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวเด็ก ตลอดจนระบบการสอนที่เป็นมาตรฐานคุณภาพด้วย โดยเฉพาะประเทศไทย ที่ยังพบช่องโหว่ในเรื่องคุณภาพระบบการสอนอยู่ไม่น้อย
       
       กับช่องโหว่นี้ "รศ.ดร.เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์" ประธานโครงการประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูนานาชาติ (International Graduate Diploma Program) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร) เปิดเผยผ่านทีมงาน Life and Family ว่า ความพร้อม และความสามารถของตัวผู้สอน ยังไม่มีวุฒิการศึกษาที่ดี ไม่มีความรู้เชิงลึกเกี่ยวศาสตร์ หรือวิชาที่สอน เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนในโรงเรียนที่ใช้ระบบการเรียนการสอนเป็น EP และ IP จะเน้นผู้สอนที่เป็นเจ้าของภาษา และส่วนมากไม่มีวุฒิการศึกษาเฉพาะทางเกี่ยวกับการสอน หรือไม่มีใบประกาศนียบัตรประกอบวิชาชีพครู ตามที่กฎกระทรวงการศึกษากำหนด นอกจากนั้นหลักสูตรที่ใช้สอนก็ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
       
       "อาจารย์ผู้สอนที่เป็นชาวต่างชาติมีความรู้เรื่องการใช้ภาษาที่ดีก็จริงอยู่ แต่ว่าในทางวิชาการอาจจะไม่ดีพอ เพราะว่าเขาไม่ได้เรียนวิชานั้นๆ มาโดยตรง ทำให้ศักยภาพการทำงานของผู้สอนลดน้อยลง เกิดเป็นการสอนที่ไม่มีประสิทธิภาพตามความต้องการ หรือไม่สามารถสอนให้นักเรียนเข้าใจได้" รศ.ดร.เสาวลักษณ์กล่าว
       
       รศ.ดร.เสาวลักษณ์ กล่าวต่อว่า จากการจัดอบรมการศึกษาที่ผ่านมา หลักสูตรดังกล่าวเป็นหลักสูตรที่กระทรวงการศึกษากำหนดขึ้น เป็นการแปลหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทย มาเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งมันไม่ได้ตรงกันความต้องการของโรงเรียน และเด็กๆ ที่ต้องการเรียนหลักสูตรนานาชาติ ดังนั้นเด็กๆ ที่เรียนหลักสูตรนี้จะต้องเรียนทั้งหลักสูตรภาษาไทย และหลักสูตรภาษาอังกฤษ เพราะเป็นข้อบังคับที่ขึ้นอยู่กับกฎระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนั้นการวัด และประเมินผลการเรียนยังไม่เป็นสากลเท่าที่ควร คือการใช้หลักการประเมินตามการเรียนในหลักสูตรภาษาไทย ซึ่งการจะบอกว่าหลักสูตรนั้นดีหรือไม่ดีต้องให้ประชาชนหรือผู้เรียนเป็นผู้ตัดใจเอง
       
       ทั้งนี้ การประกอบวิชาชีพครู ตามกฎหมายจะต้องได้รับประกาศนียบัตรประกอบวิชาชีพครู ที่ออกโดยคุรุสภา ทางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ได้เปิดสอนหลักสูตรวิชาชีพครูนานาชาติ เพื่อเปิดให้กับอาจารย์ผู้สอนที่เป็นชาวต่างชาติมาเรียน โดยการเรียนหลักสูตรนี้ จะเรียนทั้งหมด 30 เครดิต จำนวน 8 รายวิชา ดังนี้ 1.ความรู้ทางศึกษาศาสตร์และปรัชญา 2.หลักการพัฒนาหลักสูตรและการสอน 3. เทคนิคการสอนต่างๆ 4. นวัตกรรมสื่อการสอนและเทคโนโลยี 5.หลักการวัดและประเมินผล 6.การฝึกงานและฝึกสอน นอกจากนั้นต้องเรียนวิชาเลือก 2 วิชาคือ วิชาการสอนเฉพาะอย่าง และวิชาการแก้ไขปัญหา คุณธรรม-จริยธรรม
       
       อย่างไรก็ดี การออกมาพูดถึงช่องโหว่ของหลักสูตรนี้ ย่อมส่งผลกระทบกับพ่อแม่ในวงกว้างไม่น้อย ในเรื่องนี้ รศ.ดร.เสาวลักษณ์ มองว่า ความจริงหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรการเรียนรู้ที่ดีอยู่แล้ว หากกระทรวงศึกษาธิการให้อิสระกับสถาบันการศึกษา และโรงเรียนในการพัฒนาการเรียนการสอน เพราะเชื่อว่าแต่ละสถาบันต่างมีแนวทางในการสอนที่มุ่งพัฒนาให้ตรงความต้องการของผู้เรียน
       
       "พ่อแม่ที่ส่งลูกเข้าไปเรียนในโรงเรียนที่ใช้หลักสูตร EP และ IP จะต้องศึกษาความพร้อมของการเรียนการสอนในสถาบันนั้นๆ ทั้งเรื่องวิชาการ ความรู้ที่ลูกจะได้รับจากการเรียน ตลอดจนความพร้อม และความสามารถของบุคลากรในการสอน ว่ามีวุฒิภาวะในการสอนหรือไม่ เพราะปัจจุบันมีผู้สอนที่ยังไม่ผ่านการพิจารณาตามมาตรฐานของกระทรวงศึกษาจำนวนมาก นอกจากนั้นควรหาข้อมูลเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องลงทุน เพราะการจ่ายค่าเทอมแพง เพื่อให้ลูกได้เรียนในหลักสูตรนานาชาติ ไม่ได้ความหมายว่า การสอนจะมีคุณภาพเสมอไป" รศ.ดร.เสาวลักษณ์ฝากทิ้งท้าย

เกลียดพวกหมิ่นเบื้องบนและเผาบ้านเผาเมือง