ข่าว:

🎉🎉🎉 XONLY เปิดรับลงทะเบียนสมาชิกใหม่อีกครั้ง จำกัดวันละ 50 คน จนกว่าแอดมินจะขี้เกียจรับ😀

Main Menu

การประหารชีวิตในสมัยก่อน

เริ่มโดย Ppwerup, พฤษภาคม 01, 2010, 09:05:39 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

Ppwerup

บทความนี้ยาวมาก ถ้าใครอยากอ่านก็อ่าน พร้อมดูภาพประกอบนะครับหรือใครจะดูภาพอย่างเดียวก็ได้ ตามแต่สะดวก ขออภัยด้วยนะเพราะมันยาวจริงๆ
ประหารนักโทษ..

โดยการ....กุดหัว  !!!

 

โทษประหาร ชีวิต เป็นการลงโทษที่รุนแรงที่สุดที่ใช้ต่อผู้กระทำความผิด ถือว่าเป็น การลงโทษที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
 
จุดมุ่ง หมายของการประหารชีวิตคือ การกำจัดผู้กระทำผิดให้พ้นไปจากสังคมด้วยวิธีการฆ่า ในสมัยโบราณการลงโทษประหาร เรียกว่า "กุดหัว" โดยใช้ดาบฟันคอ นักโทษเด็ดขาด

" ดาบ " ถือเป็นอาวุธประจำตัวนักรบโบราณที่ใช้กันทั่วไปทั่วโลก จะผิดแผกแตกต่างกันก็เฉพาะรูปแบบ สำหรับ " ดาบไทย " อันใช้เป็นดาบเพชฌฆาต ได้รับการสร้างขึ้นตามตำนานการสร้างด้วยการหาเหล็กที่เป็นเหล็กเนื้อดีนำมา ไล่ขี้ควายออกแล้วหลอมกันเป็นก้อนเจือด้วยเหล็กจากบ่อพระแสง จ.อุตรดิตถ์ ที่เรียกกันว่า" เหล็กน้ำพี้ "


เหล็กน้ำพี้นั้นเป็นเหล็กที่มีส่วนผสมโลหะธาตุตามธรรมชาติที่มีคุณสมบัติควบ คุมเนื้อเหล็กธรรมดาให้เกิดความคงทนแข็งแกร่งไม่กินตัวเองให้เป็นสนิม ทนทานต่อการฟันของหนาๆที่แข็งคมจนเกิดประกายอันเป็นการข่มขวัญศัตรูด้วย การสร้างดาบเพชฌฆาตต้องถือ " ฤกษ์เพชฌฆาต " เป็นสำคัญ ส่วนการตีดาบให้ได้รูปลักษณ์ที่ต้องการและคม ต้องใช้ยามยมขันธ์เป็นหลัก


ลักษณะดาบเพชฌฆาตแยกเป็น ดาบหนึ่ง ดาบสอง


ดาบหนึ่ง จะมีความสั้นกว่าดาบสอง ใบดาบจะกว้างกว่าดาบสอง ทั้งด้ามดาบก็สั้นกว่า สันดาปจะหนาประมาณ ๑ ซ.ม. ส่วนด้ามดาบประกอบด้วยเหล็กรัด ใช้เชือกด้ายดิบถักหุ้มด้วยลวดลายรัดกุมเพื่อให้สาก ถนัดในการกระชับ ทั้งลงรักและยางไม้เพื่อรักษาด้วยให้คงทนต่อการใช้งาน สภาพดาบปลายจะหักลง แล้วงอนขึ้นคล้ายใบง้าวของจีนเพื่อให้เกิดน้ำหนักถ่วงทางโคนดาบให้ได้ดุล


ดาบสอง ใบดาบจะยาวกว่าดาบหนึ่งประมาณ ๘ ซ.ม. ใบดาบเรียวคล้ายดาบที่นักรบไทยโบราณทั่วไปใช้ ปลายดาบเฉียงต่ำรับกับความโค้งของใบดาบด้านล่าง สันดาปบางประมาณ ๐.๗ ซ.ม.


ดาบเพชฌฆาตคู่นี้ได้รับการทิ้งไว้ยัง ห้องพิเศษในคุกหลวง ห้ามผู้ใดแตะต้อง ทุกวันเสาร์จะมีการสังเวยด้วยเหล้าและไก่ต้มเป็นการบวงสรวง จนมีการเล่าขานกันว่า ดาบ ๒ เล่มดังกล่าวจะสั่นได้เองเหมือนถูกคนจับเขย่า และหลังจากดาบทั้งคู่สั่นไม่เกิน ๗ วันก็จะต้องมีพิธีประหารชีวิตนักโทษเกิดขึ้นทุกคราไป


ทั้งดาบหนึ่ง ดาบสองนี้ถูกใช้มาจนถึง รัชกาลที่ ๖ จึงได้ยกเลิก แต่สำหรับชีวิตนักโทษที่สังเวยไปจากดาบคู่นี้ประมาณไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ ศพ


สำหรับ " เพชฌฆาต " นั้นเป็นตำแหน่งที่โปรดเกล้าพระราชทานให้แก่ผู้มีดวงอันเหมาะสมโดยจะมีบรรดา โหราจารย์นำดวงชะตาไปคำนวณอย่างละเอียดเพื่อประกอบในการคัดเลือก ทั้งนี้ด้วยถือกันว่า การประหารชีวิตคนอันเป็นสัตว์ประเสริฐนับเป็นกรรมหนักรุนแรง จึงต้องเฟ้นหาดวงเพชฌฆาตที่มีดวงคุ้มตัวเองได้ มิฉะนั้นชีวิตจะสั้น !


พอเลือกเฟ้นได้คนที่มีดวงเหมาะสม ยังต้องเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญเพลงดาบอย่างดี ทั้งมีความรู้เกี่ยวกับดาบ มีความแม่นยำในการลงดาบ เพื่อขณะทำการประหารจะได้ไม่เป็นการทรมานนักโทษจนเกินไป และผู้เป็นเพชฌฆาตจะต้องมีความรู้ทางด้านคาถาอาคมเป็นพิเศษด้วยเช่น คาถาสวดวิญญาณผีตายโหง อาคมก่อนหยิบดาบเพชฌฆาต รวมทั้งสามารถแก้อาถรรพณ์หากผู้ถูกประหารมีวิชาด้านคงกระพันชาตรี


ตัวเพชฌฆาตหรือมือประหารเองจะต้องอยู่ประจำ ณ เรือนจำตั้งแต่ได้รับคำสั่งให้เตรียมการ จากนั้นเมื่อได้เวลาเพชฌฆาตจะอัญเชิญดาบออกจากที่ตั้งไปทำการบวงสรวงด้วย เครื่องเส้น เพื่อปลุกดาบให้เข้มขลัง เสร็จพิธีแล้วจึงค่อยเก็บดาบไว้ที่ตั้งเดิมรอเวลาประหาร

ครั้นได้ฤกษ์เพชฌฆาตดาบหนึ่ง ดาบสองค่อยอันเชิญดาบออกจากที่ตั้ง พร้อมแต่งกายด้วยผ้าเตี่ยวสีแดงสด นุ่งหยักรั้งทะมัดทะแมงสวมเสื้อกั๊กสีแดงลงยันต์มหาอำนาจ มหาเดช มีบางรายคาดหัวด้วยผ้าสีแดงลงยันต์ เมื่อออกจากเรือนจำไปกับขบวนนักโทษเพชฌฆาตจะอยู่รั้งท้ายขบวน เมื่อถึงลานประหารที่กำหนดไว้ นักโทษจะถูกผูกตา ช่วงนี้เองที่เพชฌฆาตทั้งดาบหนึ่ง ดาบสองจะเข้าไปขออโหสิกรรม

บนพื้นที่ลานประหารด้านหลังนักโทษ มีการสร้างประตูป่า ทำด้วยไม้หลัก 3 อัน ผูกติดกันเป็นประตูปักไว้กับดินจนแน่น จากนั้นเจ้าหน้าที่จะนำเอาใบไม้ กิ่งไม้ มาสุมคลุมไว้จนมองไม่เห็นทางเข้า ยกเว้น มือเพชฌฆาตเท่านั้น ที่รู้ ส่วนด้านใน มีอาสนะ ยกพื้นสูง สำหรับพระสงฆ์ นั่งประจำ กับบาตร บรรจุน้ำมนต์ สองบาตร

น้ำมนต์ดังกล่าวเรียก " น้ำมนต์ ธรณีสารใหญ่ " เพื่อล้างเสนียดอัปรีย์ทั้งปวง ทั้งยังไล่เคราะห์ให้กับเพชฌฆาตด้วย ต่อมา เพชฌฆาตดาบหนึ่ง และ ดาบสองจะเข้าไปอยู่หลังประตูป่า พลางภาวนาคาถาอาคม สะกดอาคม หากมีอยู่ในตัวนักโทษ พร้อมสะกดดวงวิญญาณผีตายโหง ส่วนที่ลานประหาร จะมีการพันธนาการนักโทษเข้าสู่หลักประหาร โดยมีพระธำมรงค์เดินไปแจ้งต่อผู้แทนพระองค์ ว่าจะเริ่มพิธีประหาร

จากนั้น ปี่หลวงทำเพลงไหว้ครูเสียงโหยหวน เพชฌฆาตดาบสอง ออกไปร่ายรำตามจังหวะเพลงโดยรอบตัวนักโทษด้วยการ " วนซ้าย " ให้เกิดอัปมงคลแก่ตัวนักโทษ

จากนั้น ปี่กลองจะทำซ้ำ แล้วเร่งเร็วขึ้นเป็นจังหวะ เมื่อดนตรีเร่งกระชั้นถี่ เพชฌฆาตดาบหนึ่ง จะแหวกประตูป่าดู เมื่อกำหนดจิตมั่น ก็จะย่างสามขุมเข้าไปหานักโทษประหารทีละก้าวอย่างแผ่วเบา ด้านนักโทษประหารจะมัวแต่ระแวงเพชฌฆาตดาบสองที่ร่ายรำอยู่รอบตัว โดยมิได้ระแวงภัยทางด้านหลัง

พอได้ระยะ เพชฌฆาตดาบหนึ่ง จะเงื้อดาบขึ้นสุดล้าฟันฉับทันควัน คมดาบคมกริบตัดผ่านข้อกระดูกข้อต่อคอ และกล้ามเนื้อออกไปทางด้านหน้า ซึ่งหากเพชฌฆาตมีสติมั่นกับแม่นยำ คมดาบจะตัดข้อต่อระหว่าง กระดูกก้านคอ กับกระดูกสันหลัง อันจะส่งผลให้นักโทษ หัวขาดกระเด็น หลุดจากบ่า ในบัดนั้น

แต่ถ้าดาบหนึ่งฟันพลาด คมดาบจะตัดกล้ามเนื้อลำคอข้างหน้าไม่ขาด เหลือเอ็นกับเนื้อไว้ ทำให้หัวของนักโทษพับลงมาห้อยจนคางห้อยจรดหน้าอก ความหวาดเสียวอันอาจทำให้ผู้คนที่ชมการประหารถึงเป็นลมก็ตอนที่หัวนักโทษขาด ซึ่งส่งผลให้เลือดที่กำลังวิ่งขึ้นด้านบน จะพุ่งกระฉูดเหมือนน้ำพุ ทั้งหัวนักโทษที่หลุดหล่นตกยังพื้นก็สามารถยักคิ้ว หรือทำตาเหลือกได้อีก นั่นเพราะเส้นเอ็นกระตุก จึงสร้างความสยดสยองพรั่นกลัวแก่ผู้พบเห็นไม่น้อย อนึ่ง หากเพชฌฆาตดาบหนึ่ง ฟันคอไม่ขาดลงทีเดียว จะเป็นหน้าที่ของเพชฌฆาตดาบสอง ต้องเอามือจิกหัวนักโทษขึ้น แล้วใช้ดาบสองเชือดจนเส้นเอ็น กับกล้ามเนื้อขาด จากนั้นจึงค่อยนำไปวางยังปลายเท้านักโทษ

สำหรับเพชฌฆาตดาบหนึ่ง เมื่อลงดาบแล้วจะกระทืบเท้าครั้งหนึ่ง แล้วยกใบดาบขึ้น เลียเลือดที่ติดปลายดาบกิน เป็นการข่มวิญญาณผีตายโหง จึงค่อยหันหลังกลับวิ่งตรงเข้าประตูป่าทันที ทั้งนี้มีข้อห้าม มิให้เพชฌฆาตหันหลังกลับไปมอง และต้องระวังมิให้หกล้มลงกับพื้นเด็ดขาด ด้วยเชื่อกันว่า ในช่วงนั้นวิญญาณผีตายโหงจะเข้าสิงทันที

เมื่อผ่านเข้าประตูป่า พระสงฆ์ที่คอยทีอยู่ จะรดน้ำมนต์ธรณีสารใหญ่ทั้งสองบาตร ต่อมาเพชฌฆาตจึงค่อยกลับไปอยู่ในเรือนจำ เหล่านี้เป็นหน้าที่ของเพชฌฆาตสมัยโบราณ แต่หากมีนักโทษบางรายคงกระพันชาตรี ก็ให้นำสิ่งที่เป็นอัปมงคลผสมน้ำราดหัวให้ความคงกระพันเสื่อม ถ้าขั้นดังกล่าวยังไม่สำเร็จโทษได้ ก็ให้ใช้วิธีสวนทวารด้วยไม้รวกปลายแหลม

ถ้ายังไม่ตายจึงทุบด้วยตะลุมพุก หรือเอาไปต้มในน้ำเดือดให้ตกตายตามโทษานุโทษ

เครื่องลงทัณฑ์เกี่ยวกับการประหารชีวิตด้วย ดาบ ดาบ ที่ใช้ในการประหารชีวิตนั้น มีรูปร่างต่างๆกัน ดาบ เก่าครูเพชฌฆาตจะจัดทำขึ้น เช่น ดาบปลายแหลม ดาบปลายตัด ดาบหัวปลาไหล ดาบมีฝักและสายสะพายพร้อม เท่าที่ปรากฎ อยู่ในพิพิธภัณฑ์ของกรมราชทัณฑ์ขณะนี้มีอยู่ ๓ แบบคือ ดาบ หัวปลาไหล ดาบปลายแหลม ดาบหัวตัด ปรากฎหลักฐานแน่ ชัดว่าเริ่มใช้สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยกฎหมาย พระอัยการขบถ ศึก จุลศักราช ๗๙๖ (พ.ศ. ๑๙๗๘) เลิกใช้สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตรงกับแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ โดยพระราชบัญญัติแก้ไขพิ่มเติมประมวลกฎหมาย ลักษณะอาญา ฉบับที่ ๖ พ.ศ. ๒๔๗๗

มีดตัดสายมงคล ชาวบ้านเรียกว่า "มีดหมอ" มีไว้สำหรับ ตัดสายมงคลที่ล้อมลานพิธีประหารชีวิตเท่านั้น การตัดสาย มงคลจะใช้มีดชนิดอื่นไม่ได้ ทั้งนี้เกี่ยวข้องกับพิธีทางไสย ศาสตร์ ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มใช้สมัยกรุงศรีอยุธยา โดย กฎหมาย "พระอัยการขบถศึก" จุลศักราช ๗๙๖ (พ.ศ. ๑๙๗๘) เลิก ใช้สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตรงกับแผ่นดินของพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่ม เติมประมวลกฎหมาย ลักษณะอาญา ฉบับที่ ๖ พ.ศ. ๒๔๗๗

มีดตัดส้นเท้า ผู้ร้ายอุกฉกรรจ์มหันตโทษ ที่ถูกประหาร ชีวิต ที่ข้อเท้าจะถูกตีตรวนขนาดใหญ่ให้ห่วงของตรวนรัดติด แน่นกับข้อเท้าจนไม่สามารถรูดออกทางส้นเท้าได้ เมื่อถูก ประหารชีวิตแล้วจึงใช้มีดสับส้นเท้า เพื่อถอดตรวนข้อเท้าออก ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มใช้สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยกฎ หมาย "พระอัยการขบถศึก" จุลศักราช ๗๙๖ (พ.ศ. ๑๙๗๘) เลิกใช้ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ ๕) ร.ศ.๑๓๑ (พ.ศ. ๒๔๕๕) เนื่องจากมีตรวนข้อเท้าที่สามารถไขได้ด้วยกุญแจมาใช้แทน

คบเพลิงสำหรับส่องทาง การนำนักโทษประหารออกจากคุก ไปตัดหัวที่วัด มักนำนักโทษลงเรือพายไปตามลำคลองให้ทันเวลา ย่ำรุ่งประมาณ ๐๓.๐๐ นาฬิกา ซึ่งยังมืดมากต้องใช้คบเพลิงส่องให้ แสงสว่างขณะเดินทาง

หลักไม้กางเขน ใช้เป็นหลักประหารนักโทษที่ถูกประหาร ด้วยดาบเพชฌฆาต จะนำนักโทษประหารเข้าไปนั่งผูกติดกับ หลักไม้กางเขนเรียกว่า "มัดแบบกาจับหลัก" วิธีปักหลักไม้ กางเขน มัดนักโทษ ครูเพชฌฆาต ต้องขุดหลุมเสกคาถาเรียก แม่ธรณี แล้วเอาไม้กางเขนปักลงกลบให้แน่น เขียนยันต์ลงที่ ดินหน้าไม้กางเขนตรงก้น นักโทษที่จะนั่ง แล้วเอาใบตอง ๓ ยอด ปูให้นักโทษนั่งบนใบตองเอาด้ายดิบที่เสกแล้ว มัดแขน ด้านหลัง ติดกับกลักกางเขน ทำพิธีเสกดินอุดหูสะกดให้นัก โทษสงบจิต ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มใช้ตั้งแต่สมัยกรุงศรี อยุธยา โดยกฎหมาย "พระอัยการขบถศึก" เลิกใช้สมัยรัชกาลที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา พ.ศ.๒๔๗๗ เปลี่ยนแปลงการ ลงโทษอาญาประหารชีวิตด้วยดาบเป็นยิงด้วยปืน

ขันทำน้ำมนต์ ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ เป็นภาชนะสำหรับ เพชฌฆาตทำน้ำมนต์ก่อนและหลังพิธีตัดคอนักโทษ เพื่อใช้น้ำ มนต์ในขันปัดรังควานและอาบหรือพรมตามร่างกาย เป็นการ ป้องกันวิญญาณร้ายเข้าสิงร่างกาย ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่า เริ่มใช้ สมัยกรุงศรีอยุธยาโดยกฎหมาย "พระอัยการขบถศึก" จุลศักราช ๗๙๖ (พ.ศ.๑๙๗๘) เลิกใช้สมัยรัชกาลที่ ๗ แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ เมื่อมีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล กฎหมายลักษณะอาญา พ.ศ. ๒๔๗๗ เปลี่ยนการลงโทษอาญา ประหารชีวิตด้วยดาบเป็นยิงด้วยปืน

 ธงแดง ธงทำด้วยผ้าสีแดง ด้ามทำด้วยไม้ไผ่ยาวประมาณ ๒๓ นิ้ว สำหรับ ปักในบริเวณลานประหารเพื่อให้รู้ว่าบริเวณนี้มีพิธีประหารชีวิต ห้ามฝูงชน มากีดขวางบริเวณที่มีธงแดง
การประหารนักโทษโดยการ กุดหัว

ศาลเพียงตา มีลักษณะสองชั้นทำด้วยไม้เนื้อแข็งติดกันยกหรือเคลื่อนย้ายได้ สะดวกแก่การนำไปใช้ในการประหารชีวิต ชั้นล่างสำหรับวางดาบประหาร ชั้น บนสำหรับวางถาดใส่อาหาร เครื่องเซ่นสังเวยเมื่อนำนักโทษไปถึงแดน ประหาร แล้ว เพชฌฆาตที่เป็นหัวหน้าเรียกว่า ครูเพชฌฆาตเป็นผู้ประกอบ พิธีบวงสรวง สังเวยเทพยดาและภูตผีต่างๆ ตลอดจนผีตายโหงที่เคยฆ่า เมื่อบริกรรมเสร็จแล้ว จะเรียกเพชฌฆาตดาบหนึ่งดาบสองเข้าในวงพิธี โดยนั่งหน้าศาลเพียงตาแล้วร่วม พิธีบวงสรวงครูเพชฌฆาตจะนำเอาแป้งกระแจะเจิมหน้าเพชฌฆาตทั้งสองเมื่อ บวงสรวงเสร็จแล้ว มอบดาบจากศาลเพียงตาส่งให้เพชฌฆาตทั้งสองทำหน้าที่ ประหารชีวิตต่อไป

ไม้เสาหลักกลม การประหารชีวิตในสมัยโบราณทำพิธีกันกลางทุ่งแจ้ง และใช้เวลานาน ไม้เสาหลักกลมมีไว้สำหรับขึงผ้ากันแดดและกันฝูงชนมิให้รุกล้ำเข้ามาใน ระหว่างทำพิธีสังเวย หรือบวงสรวง

ถาดทองเหลือง ถาดทองเหลือง ก่อนการประหารชีวิตเพชฌฆาตต้องทำพิธีไหว้ครู และสักการะสิ่งเคารพบูชาตามที่ตนเลื่อมใสเพื่อให้มีจิตใจมั่นคง เพราะ การฆ่าคนก็เกรงกลัวแรงผีเข้าสิง ภาชนะที่ใช้ในพิธี บวงสรวง ประกอบ ด้วย ถาดทองเหลืองมีเชิงและลวดลาย ถ้วยชามกระเบื้องลักษณะมีลาย สีน้ำเงิน เหมือนชามสังคโลก สำหรับใส่ของหวานและน้ำจิ้ม เพื่อเซ่น สังเวยเทพยดาฟ้าดิน เครื่องสังเวยประกอบด้วยหัวหมูซ้ายขวา เป็ดหนึ่ง ไก่หนึ่ง ปลาแปะซะหนึ่ง พร้อมน้ำจิ้ม บายศรีกล้วยน้ำไทย ๑ หวี มะพร้าว อ่อน ๑ ลูก ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว สิ่งละถ้วย ขนมธรรมดาอีก ๔ ถ้วย เหล้าโรง ๒ ขวด ดอกไม้พร้อมด้วยธูป ๑ ซอง เทียน ๙ เล่ม

ถ้วยเคลือบดินเผา พร้อมสำรับอีกหนึ่งชุด ลักษณะเป็นถ้วย เคลือบ ดินเผามี ๕ ใบ สำหรับใส่อาหารคาวหวานให้นักโทษ ประหารกินเป็นมื้อสุดท้ายก่อนถูกตัดหัว ทั้งเครื่องเซ่นสังเวย บวงสรวงและอาหารผู้ต้องโทษ มีฝาชีครอบไว้เรียบร้อย

ฝาชีครอบถาด ใช้สำหรับครอบถาดทองเหลืองที่มีเครื่อง เซ่นสังเวยบวงสรวง และสำหรับอาคารคาว หวานให้นักโทษ ประหารกินเป็นมื้อสุดท้ายก่อนตัดหัว เพื่อกันไม่ให้ตัวแมลง หรือสิ่งสกปรก ตอมอาหาร

 ถัาบัดเดี๋ยวนี้ยังคงมี...การกุดหัว เหมือนแต่ในอดีต...

คนเลวๆในเมืองสยามก็คงจะลดน้อยลง

ดูแล้วกลัวกันบ้างมั้ยขอรับ เพื่อนๆ....เฮอๆ

มาจาก cilpmass
กดนิยม วันละนิด จิตแจ่มใส