ข่าว:

🎉🎉🎉 XONLY เปิดรับลงทะเบียนสมาชิกใหม่อีกครั้ง จำกัดวันละ 50 คน จนกว่าแอดมินจะขี้เกียจรับ😀

Main Menu

เครื่องกำจัดหลอดฟลูออเรสเซนต์

เริ่มโดย ~นักย.ในตำนาน~, พฤษภาคม 06, 2010, 03:55:20 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

~นักย.ในตำนาน~

หลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ใช้แล้วถือเป็นขยะ อันตรายชนิดหนึ่ง เนื่องจากหลอดเหล่านี้มีสารปรอทตกค้าง ซึ่งสารปรอทในหลอดฟลูออเรสเซนต์สามารถแพร่กระจายออกสู่สิ่งแวดล้อมในรูปของ ไอ หรือถูกชะล้างออกมาจากกากหลอด เมื่อหลอดฟลูออเรสเซนต์แตก ทำให้สารปรอทตกค้างในสิ่งแวดล้อมและเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตได้



หลอดฟลูออเรสเซนต์ที่หม[คำไม่พึงประสงค์]ายุการใช้งาน กำลังสร้างปัญหาให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง  เทศบาล และ อบต. ซึ่งมีหน้าที่  จัดเก็บขยะ และดูแลสิ่งแวดล้อมใน แต่ละท้องถิ่น ปกติเทศบาล และ อบต. จะใช้วิธีการเก็บรวบรวมหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ทิ้งจากบ้านเรือน มารวมไว้ เพื่อรอการขนส่งไปกำจัด ที่ถูกต้อง แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ เทศบาล และ อบต. ส่วนใหญ่ไม่มีพื้นที่ในการจัดเก็บขยะที่เป็นอันตรายเหล่านี้ เสี่ยงในการเกิ[คำไม่พึงประสงค์]ุบัติเหตุและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนอีกด้วย

ผศ.ดร.สมศักดิ์ พิทักษานุรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยและสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ จึงได้ร่วมกับ รศ.ดร.วันเพ็ญ วิโรจนกูฎ ผู้อำนวยการศูนย์การจัดการสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย และนายวรวิทย์ อินทร์ชม นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทำการศึกษาพัฒนาต้นแบบเครื่องบดย่อยหลอดฟลูออเรสเซนต์พร้อมด้วยการควบคุมการแพร่กระจายของสารปรอท เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้นำไปใช้ประโยชน์ แก้ไขปัญหาการจัดเก็บขยะอันตรายจากชุมชน

ผศ.ดร.สมศักดิ์ เผยว่า เครื่องบดย่อยหลอดฟลูออเรสเซนต์ ประกอบด้วยถังพลาสติกอย่างหนา (HDPE) ขนาด 230 ลิตรและชุดบดย่อยที่มีใบมีด และช่องสำหรับใส่หลอดฟลูออเรสเซนต์ติดตั้งอยู่ด้านบนของถัง สามารถรองรับหลอดฟลูออเรสเซนต์ได้ 1,300-1,400 หลอด ที่บดย่อยแล้ว มีอัตราการบดย่อย 4-6 หลอด ต่อนาที

การควบคุมการแพร่กระจายของไอปรอท ใช้วิธีฉีดพ่นโซเดียมซัลไฟด์ลงบนหลอดที่ถูกบดย่อย จากนั้นผสมปูนซีเมนต์เข้ากับเศษหลอดฟูลออเรสเซนต์ ทดสอบการ ชะล้างของสารปรอท และนำไปฝังกลบให้ถูกต้องต่อไป

ปัจจุบันต้นแบบเครื่องบดย่อยหลอดฟลูออเรสเซนต์ได้ถูกนำไปทดลองใช้งานจริง  ที่เทศบาลตำบลพังโคน จังหวัดสกล นคร ภายใต้การดำเนินงานโครงการของเครือข่ายสกลนคร คลีน กรีน แอนด์ เน็ตเวิร์ก (Sakonnakorn Clean Green and Network)  ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม สำนักงานสาธารณสุข  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัด สกลนคร

เครื่องบดย่อยหลอดฟลูออเรสเซนต์ เมื่อเทียบต้นทุนการผลิตกับเครื่องบดย่อยหลอดฟลูออเรสเซนต์ ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ถือว่ามีราคาถูกกว่ากันมาก เพราะมีต้นทุนเพียง  7,000 บาท เท่านั้น  
 
ผศ.ดร.สมศักดิ์ บอกว่า ยัง คงต้องพัฒนาต่อไปในเรื่องของรูปแบบเพื่อให้สะดวกต่อการติดตั้งและเคลื่อนย้าย และจะทดลองออกแบบติดตั้งบนรถเก็บขยะเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานให้มากยิ่งขึ้น

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บบอร์ดสาย ตรงนักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น //www.kku.ac.th/rs