ข่าว:

🎉🎉🎉 XONLY เปิดรับลงทะเบียนสมาชิกใหม่อีกครั้ง จำกัดวันละ 50 คน จนกว่าแอดมินจะขี้เกียจรับ😀

Main Menu

นักวิจัยม.มหิดล ค้นพบ "ดาวเรือง-กล้วย" บำบัดสารหนู ลดเสี่ยงมะเร็งผิวหนัง

เริ่มโดย 02766132, พฤษภาคม 07, 2010, 06:34:27 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

02766132

นักวิจัยมหิดล เผยความสำเร็จครั้งแรกของประเทศ การวิจัยปลูกพืชดูดซึมโลหะหนักปนเปื้อนในดินและน้ำ ทดแทนการใช้สารเคมีบำบัด ที่มีราคาแพง หลังบำบัดไม่สามารถทำเกษตรกรรม พบดาวเรืองและกล้วยน้ำวาดูดซึมสารหนูได้ดี ลดการปนเปื้อนในพื้นที่เมืองดีบุกเก่า อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช
       
ศ.ดร.พรสวรรค์ วิสุทธิวิเศษ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และทีมงาน ศึกษาหาวิธีบำบัดสารโลหะหนักปนเปื้อนในดิน บริเวณเหมืองดีบุกเก่า ต.ร่อนพิบูลย์ อ.ร่อนพิบูลย์ ซึ่งเป็นเทือกเขาสูงต่อเนื่องจากทิศตะวันตกถึงทิศเหนือ พบว่าพืชบางชนิดมีคุณสมบัติดูดซับสารพิษและโลหะหนัก จึงทดสอบเพื่อให้ได้ชนิดของพืชที่มีความเหมาะสม สำหรับส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกในเชิงพืชเศรษฐกิจท้องถิ่น
       
       จากการตรวจสอบก่อนเริ่มต้นงานวิจัย ณ พื้นที่ อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช พบว่า ชาวบ้านมีปัญหาสุขภาพ ตั้งแต่โรคผิวหนังจนถึงมะเร็งผิวหนัง เนื่องจากสารหนูจากเหมืองร่อนพิบูลย์อยู่ในพื้นที่เหมืองดีบุกเก่า ซึ่งมีกากแร่หลงเหลืออยู่ กากเหล่านั้นปลดปล่อยสารหนูออกมาปนเปื้อนในดินและแหล่งน้ำ อีกทั้งยังพบสารหนูปนเปื้อนในแหล่งน้ำ ในระดับสูงกว่ามาตรฐานองค์การอนามัยโลกถึง 20 เท่า
       
       "คณะวิจัย พบสารหนูในดินเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่รวม 13 หมู่บ้าน รวมทั้งในตะกอนท้องน้ำของห้วยร่อนนา ทั้งนี้ ระดับการปนเปื้อนของสารหนูในดินพบ ตั้งแต่ 60-1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานของสารหนูในดินที่กำหนดโดยกรมควบคุมมลพิษ ตั้งแต่ 15-250 เท่า ส่วนสารหนูในน้ำสูงกว่ามาตรฐานขององค์อนามัยโลกและกรมควบคุมมลพิษ ตั้งแต่ 10-250 เท่า"

จากตรวจสอบผลกระทบดังกล่าวพบว่า ตั้งแต่ปี 2530 มีชาวบ้านป่วยด้วยอาการทางผิวหนังว่า 1,500 ราย และมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอาการทางผิวหนัง พบได้ตั้งแต่รอยดำสลับขาว บนผิวหนัง ที่ฝ่ามือหนามีเม็ดนูนแข็ง บางรายผิวหนังตกสะเก็ด ลอก และบางรายเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง และมะเร็วของอวัยวะอื่นๆ เช่น มะเร็งที่ไต มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เสียชีวิตไปแล้วกว่า 100 ราย
       
       ด้วยเหตุนี้ ทีมวิจัย จึงคัดเลือกพันธุ์พืช ที่มีประสิทธิภาพดูดซับสารหนูในดินและน้ำมาเก็บไว้ในต้น พบว่า ดาวเรือง กล้วยน้ำว้าและพาร์โลเนีย มีประสิทธิภาพในการดูดสารหนูได้ดีที่สุด
       
       "ต้นดาวเรือง 1 ต้น สามารถดูดซับสารหนูได้มากถึง 50 พีพีเอ็ม โดยดูดซับไว้ที่ส่วนรากมากสุด ขณะที่ลำต้นและใบมีสารหนูเพียง 30% ของปริมาณสารหนูที่พบในราก และพบสารหนูน้อยมากในดอก
       
       ส่วนกล้วยน้ำว้า 1 ต้น สามารถดูดซับสารหนูได้มากที่สุด เมื่อเทียบกับกล้วยเล็บมือนางและกล้วยไข่ สารพิษจะสะสมที่รากเป็นหลัก ตามมาด้วยต้นและใบ ที่น่าสนใจคือ "ผลกล้วยน้ำว้า" ไม่พบสารหนูตกค้าง"
       
       ส่วนต้นพาร์โลเนียนั้น นักวิจัยอธิบายว่า สะสมสารหนูได้ดีในลำต้น แต่เป็นพืชที่ต้องการธาตุอาหารและน้ำสูง ทั้งยังมีปัญหาแมลงรบกวน ทำให้ปลูกยากกว่า อย่างไรก็ตาม หากชุมชนในพื้นที่ศึกษาปลูกพืชดูดซับสารหนูไปเรื่อยๆ สารพิษในดินจะหมดไปในเวลา 68 ปี โครงการวิจัยปลูกพืชเพื่อดูดซึมสารพิษในดินและน้ำเพิ่งเสร็จสิ้นในเฟสแรก ได้รับความร่วมมือจากกระทรวงศึกษาและวิจัยของประเทศเยอรมัน

เกลียดพวกหมิ่นเบื้องบนและเผาบ้านเผาเมือง