ข่าว:

🎉🎉🎉 XONLY เปิดรับลงทะเบียนสมาชิกใหม่อีกครั้ง จำกัดวันละ 50 คน จนกว่าแอดมินจะขี้เกียจรับ😀

Main Menu

ใบกระท่อม ยาระงับปวดหรือยาเสพติด

เริ่มโดย tum040, พฤษภาคม 22, 2010, 04:48:35 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

tum040

1. ข้อมูลทั่วไป


กระท่อม (Kratom) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mitragyna speciosa Korth. อยู่ในวงศ์ Rubiaceae เป็นไม้

ยืนต้นขนาดกลางสูง 10-15 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตัวเป็นคู่ตรงข้ามและมีหูใบ 1 คู่ (interpetiolar

stipules) ใบมีรสขมเฝื่อน แผ่นใบสีเขียว เป็นรูปไข่รีแกมขอบขนาน ปลายแหลมมีขนาด กว้าง x ยาว

ประมาณ 5-10 x 8-14 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ฐานใบมน ก้านใบออกจากฐานใบ มีความ

ยาวประมาณ 2-4 ซม. เส้นใบเรียงตัวแบบขนนก เส้นกลางใบ

และเส้นแขนงใบมีสีแดงเรื่อ มีขนอ่อนสั้นๆ บริเวณเส้นใบที่อยู่

ด้านท้องใบ มีเส้นแขนงใบ 10-15 คู่ ดอกออกเป็นช่อตุ้มกลม

(head) ขนาด 3-5 ซม. ใน 1 ช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาด

เล็กสีขาวอมเหลืองจํ านวนมาก ดอกย่อยสมบูรณ์เพศ ผลเป็นรูป

ไข่ขนาดเล็กประมาณ 5-7 มม. กระท่อมพบได้ในบางจังหวัด

ของภาคกลาง เช่น ปทุมธานี แต่จะพบมากในป่าธรรมชาติ

บริเวณภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล

พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และตอนบนของ

ประเทศมาเลเซีย กระท่อมเป็นพืชเสพติดให้โทษประเภท 5 ตาม

พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522


2. ประโยชน์ทางยา


ใบ กระท่อมมีรสขมเฝื่อนเมา ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง แก้บิด ท้องเสีย แก้ปวดเมื่อยร่างกาย ระงับประสาท

ช่วยให้ทํ างานทนไม่หิวง่าย วิธีใช้ให้นํ าใบสด 3-4 ใบ มาลอกเอาก้านใบและเส้นใบออก เคี้ยวให้

ละเอียด ดื่มนํ้ าอุ่นกลั้วกลืนลงไป หรือนํ าใบมาตากแดดให้แห้งบดเป็นผง รับประทานกับนํ้ าอุ่นครั้งละ 1

ช้อนกาแฟพูนๆ แก้ท้องเสีย บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และทํ าให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มสบาย

ตัว ได้นานประมาณ 4-5 ชั่วโมง การรับประทานใบกระท่อมช่วยให้ทํ างานได้ทนเวลามีแสงแดดจัด แต่

จะเกิดอาการหนาวสั่นเวลาอากาศครึ้มฟ้า ครึ้มฝน (เสงี่ยม พงษ์บุญรอด, 2514)


3. องค์ประกอบทางเคมี


ใบ กระท่อมเป็นแหล่งของอินโดลแอลคาลอยด์ เช่น mitragynine, paynantheine, isopaynantheine,

speciofoline, isospeciofoline, speciogynine, mitraciliatine, ajmalicine, 3-isoajmalicine,

rhynchophylline, isorhynchophylline, tetrahydroalstonine, isopteropodine, isomitraphylline,

mitraphylline, rotundifoline, isorotundifoline, mitrafoline, isomitrafoline, isocorynantheidine,

corynantheidine, speciophylline, speciociliatine, corynoxine, corynoxine B, corynoxeine,

isospecionoxeine, specionoxeine, mitrajavine, 3-dehydromitragynine, javaphylline,

akuammigine (Beckett et al., 1965a, 1965b, 1966a, 1966b; Shellard et al., 1978a, 1978b;

Houghton et al., 1986; Keawpradub, 1990)


4. รายงานวิจัยทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยา


จากการทดลองในหนูขาวและหนู ตะเภาพบว่า mitragynine ซึ่งเป็นแอลคาลอยด์สํ าคัญที่แยกได้จาก

ใบ กระท่อม มีฤทธิ์ระงับปวดในลักษณะเดียวกับแอลคาลอยด์ที่ได้จากยางฝิ่น เช่น มอร์ฟีน (opiate-like

action) โดยออกฤทธิ์ต่อ opioid receptors (agonistic effects) แต่มีความแรงน้อยกว่ามอร์ฟีน

ประมาณ 10 เท่า (Tohda et al., 1997; Watanabe et al., 1997; Thongpradichote et al., 1998;

Yamamoto et al., 1999) และยังพบว่า mitragynine ในขนาด 5-30 มก./กก. (i.p.) แสดงฤทธิ์กดการ

ทํ างานของ 5-HT2A receptor ในหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนํ าด้วย 5-methoxy-N,N-dimethyltryptamine

(16 มก./กก., i.p.) (Matsumoto et al., 1997) แอลคาลอยด์ mitragynine ทํ าให้คนเกิดอาการ

เคลิบเคลิ้ม คล้ายฤทธิ์ของ cocaine (Grewal, 1932) และยังพบว่าในคนที่ได้รับ mitragynine acetate

ขนาด 50 มก. จะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน (Jansen et al., 1988) จากการสังเกตอาสาสมัคร 6 คน mitragynine

ที่รับประทาน mitragynine acetate ครั้งละ 50-100 มก. หรือผงใบกระท่อมขนาด 650-1300 มก. พบ

ว่าช่วยให้ทํ างานได้นานขึ้น ทนแดด ผิวหนังแดงเพราะเลือดไปเลี้ยงผิวหนังมากขึ้น (Marcan, 1934)

กระท่อมจัดเป็นพืชเสพติดให้โทษ ถ้ารับประทานใบกระท่อมในปริมาณมากๆ จะทํ าให้มึนงง และ

คลื่นไส้ อาเจียน (เมากระท่อม) ในบางรายรับประทานเพียง 3 ใบ ก็ทํ าให้เมาได้ และถ้าหากรับประทาน

ติดต่อกันนานๆ จะทํ าให้ปากแห้งคอแห้ง ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก อุจจาระแข็งเป็นก้อนเล็กๆ นอนไม่หลับ

นํ้ าหนักลด ผิวหนังดํ าเกรียมโดยเฉพาะบริเวณโหนกแก้มทั้ง 2 ข้าง บางรายอาจมีสภาพจิตสับสน และ

ถ้าหยุดรับประทานใบกระท่อมจะเกิดอาการ ถอนยา คือ นํ้ าตาไหล นํ้ ามูกไหล ก้าวร้าว ปวดเมื่อยตาม

ตัว และกล้ามเนื้อแขนขากระตุก (Suwanlert, 1975) นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าเมื่อฉีด mitragynine

ขนาด 3-30 ไมโครกรัมเข้าโพรงสมองที่ 4 (the fourth cerebroventricle) ของหนู rat ที่ถูกวางยาสลบ

จะสามารถยับยั้งการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารได้เช่น เดียวกับมอร์ฟีน (Tsuchiya et al., 2002)

ซึ่งอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ ทํ าให้ผู้ที่รับประทานใบกระท่อมไม่รู้สึกหิว (ไม่อยากอาหาร) จึงทํ างานได้นาน

ขึ้น และส่งผลให้นํ้ าหนักตัวลดลง เกิดภาวะร่างกายผอมเกร็งได้

จึงเห็นได้ว่าใบกระท่อมเป็นพืชสมุนไพร ที่มีฤทธิ์ระงับปวดได้พอสมควร แต่อาจทํ าให้เสพติดได้

เนื่องจากมี ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาคล้ายคลึงกับมอร์ฟีน จึงควรศึกษาเพิ่มเติมในสัตว์ทดลองด้านพิษวิทยา

อาการข้างเคียงและการ เสพติด เพื่อให้ทราบถึงศักยภาพในการเป็นยาระงับปวดของใบกระท่อมรวมทั้ง

ความ ปลอดภัยและความเป็นไปได้ในการนํ าใบกระท่อมมาใช้ประโยชน์ทางยาในอนาคต

ที่มา : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์