ข่าว:

🎉🎉🎉 XONLY เปิดรับลงทะเบียนสมาชิกใหม่อีกครั้ง จำกัดวันละ 50 คน จนกว่าแอดมินจะขี้เกียจรับ😀

Main Menu

เจียงใหม่ในอดีต ( เชียงใหม่ )

เริ่มโดย bacteria, มกราคม 24, 2010, 03:16:25 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

bacteria


เจดีย์หลวง พศ.2510

กังสะดาน วัดหลวงลำพูน

ตลาดหลวง ( กาดหลวง ) พศ 2480 หรือตลาดวโรรส ในปัจจุบัน

กาดหลวง พศ 2480 หรือตลาดวโรรส ในปัจจุบัน แม่น้ำปิงกับเรือหางแมงป่อง

การค้าขายถนนช้างม่อย

ห้วยแก้ว พ.ศ.2450

การโบยลงทันฑ์นักโทษในอดีต


ข้าราชการไปรษณีย์ในอดีต

ช่างฟ้อนคุ้มหลวง

คุ้มเจ้าแก้วนวรัตน์ ปัจจุบันกลายเป็นตลาด

สะพานนวรัตน์

สะพานนวรัตน์ พ.ศ.2504

เจ้าพระยากำแพงเพชรทรงช้างข้ามน้ำปิง

แจ่งหัวริน

ถนนท่าแพเตรียมรับศึกเงี้ยว

แนวกำแพงเมือง

แนวกำแพงเมืองอีกด้าน

ประตูช้างเผือก

ประตูเชียงใหม่

ประตูสวนดอก

ประตูสวนปรุง

มิชันนารี

เมรุเผาศพเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่

วัดสวนดอก พศ 2429

สงกรานต์เชียงใหม่ ในอดีต



สงกรานต์ พศ 2507

ตลาดแห่งหนึ่งในกลางเวียงเชียงใหม่ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๐ ( ถ้ากลางเวียง สันนิจฐานว่าเป็นตลาดประตูเชียงใหม่นะครับ )

ถนนท่าแพเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๔๐ ปลายถนนคือสะพานแม่ข่า มุมขวาคือวัดแสนฝาง โปรดสังเกตการแต่งกายของคนเดินถนน มุมซ้ายสุดของภาพ ผู้ชายและผู้หญิงใส่เสื้อแขนกระบอกสามส่วนผู้ชายนุ่งผ้าต้อย ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่น มุมขวาของภาพจะเห็นว่ามีการปลูก ต้นกระเบาข้างถนน

ถนนท่าแพ ถ่ายจากสี่แยกอุปคุต ประมาณ พ.ศ.๒๔๔๕ เข้าใจว่า คงเป็นขบวนแห่ เพราะมีคนถือตุงเป็นทิวแถว รั้วไม่ไผ่ซ้ายมื ของภาพคือ ที่ทำการแขวงเชียงใหม่ (เดิมตั้งอยู่ที่นี่ ) ปลายถนนในภาพคือ สะพานแม่ข่า

ถนนท่าแพ ถ่ายจากเชิงสะพานนวรัฐไปทางทิศตะวันตก มุมซ้ายของภาพคือ วัดอุปคุตพม่า ซึ่งเป็นสถานที่เตรียมสร้างพุทธสถานเชียงใหม่

โรงแรมราชวงศ์ ตั้งอยู่ที่มุมถนนช้างม่อยตัดกับถนนราชวงศ์ ปัจจุบันถูกรื้อแล้วสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ ถ่ายขณะเกิดน้ำท่วม

ภาพนี้ถ่ายจากสามแยกหน้าโรงพยาบาลเทศบาล ถ่ายไปทางทิศเหนือ

ภาพนี้ถ่ายจากสี่แยกศรีนครพิงค์ ปลายถนนคือ ตลาดวโรรส ทางขวามือคือตรอกวัดแขก ในภาพถ่ายเมื่อเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่รถโดยสารประจำทางที่เห็นในภาพ (รถคอกหมู) เป็นของบริษัท ส.ร.ช (สหายรถยนต์เชียงใหม่)


เทศบาลนครเชียงใหม่ เริ่มประกาศห้ามนำเกวียนเข้ามาในเขตเทศบาลตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๘ แต่ได้มีเจ้าของเกวียนหลายสิบรายพากันมาประท้วงที่ศาลากลางจังหวัด จนทางการต้องผ่อนผันให้อีกหลายปี ในภาพเป็นขบวนเกวียนรุ่นสุดท้ายที่เข้ามาบนถนนในเมืองเชียงใหม่ หลังจากนั้นไม่มีภาพเช่นนี้ ให้เห็นอีกเลย ภาพนี้ถ่ายที่ถนนช้างม่อย ตอนโค้งวัดหนองคำ ปี พ.ศ.๒๕๑๐

บันไดนาคทางขึ้นวัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ บันไดเก่าตัวนาคยาว ๖๐ วา มีบันได ๑๗๓ ขั้น ในภาพโปรดสังเกตนาคสมัยนั้นมีเพียงเศียรเดียว

วัดสวนดอก (วัดบุปผาราม)ภาพนี้ถ่ายเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาล ที่ ๗ เสด็จพระราชดำเนินประพาสเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๙ก่อนหน้าที่ครูบาศรีวิชัยจะมาปฏิสังขรณ์และสร้างวิหารของวัดนี้ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๔

แถวนักเรียนโรงเรียนชัวย่งเส็ง ขณะรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เมื่อครั้งเสด็จประพาสนครเชียงใหม่ ปี พ.ศ.๒๔๖๙ ที่หน้าร้านกิติพานิช ของนายเจี๊ยว กิติบุตรคหบดีชาวเชียงใหม่ ร้านค้าริมถนนท่าแพ

สถานีรถไฟเชียงใหม่

โรงแรมรถไฟเชียงใหม่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีประทับที่โรงแรมรถไฟ เพื่อทอดพระเนตรขบวนแห่ช้างรับเสด็จระหว่างเสด็จประพาสนครเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๙