ข่าว:

🎉🎉🎉 XONLY เปิดรับลงทะเบียนสมาชิกใหม่อีกครั้ง จำกัดวันละ 50 คน จนกว่าแอดมินจะขี้เกียจรับ😀

Main Menu

มจธ.ช่วยคนไทยคลายร้อนด้วย "แอร์ประหยัดไฟกว่าเบอร์ 5"

เริ่มโดย 02766132, เมษายน 15, 2010, 06:59:06 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

02766132

นักศึกษา JGSEE เผยผลงานวิจัยพัฒนาอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนในเครื่องปรับอากาศ และเครื่องทำความเย็น ให้สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดีขึ้น ส่งผลถึงประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้น และช่วยลดการใช้พลังงานได้ส่วนหนึ่ง
       
       เครื่องปรับอากาศทั้งในบ้าน ในรถยนต์ และเครื่องทำความเย็นล้วนเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันของคนไทย แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าอุปกรณ์ทำความเย็นเหล่านี้เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่กินไฟมากที่สุด จึงมีความพยายามที่จะพัฒนาและปรับปรุงเพิ่มสมรรถนะการทำงานของเครื่องปรับอากาศ และเครื่องทำความเย็นให้ใช้พลังงานลดลง ซึ่งงานวิจัยของ นักศึกษาปริญญาเอกบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นอีกหนึ่งในความพยายามนั้น โดยเป็นการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนในเครื่องปรับอากาศ

 สุริยัน เลาหเลิศเดชา นักศึกษาปริญญาเอกบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) กล่าวว่า หลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป ใช้กระบวนการของวัฏจักรอัดไอ (Vapor compression cycle) ซึ่งมีส่วนสำคัญหลักๆ 5 ส่วน ได้แก่ อุปกรณ์ขยายตัว (Expansion device), คอนเดนเซอร์ (Condenser), อีวาโปเรเตอร์ (Evaporator), คอมเพรสเซอร์ (Compressor) และ สารทำความเย็น (Refrigerant) โดยการเพิ่มสมรรถนะการทำงานของเครื่องปรับอากาศสามารถทำได้หลายส่วน แต่ในงานวิจัยนี้มุ่งเน้นทำวิจัยเรื่องการพัฒนาการเพิ่มความสามารถในการถ่ายเทความร้อนในคอนเดนเซอร์ (คอยล์ร้อน) และอีวาโปเรเตอร์ (คอยล์เย็น) ให้ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างสารทำความเย็นกับอากาศได้ดีขึ้น ภายใต้การดูแลของ ศ.ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ
       
       "การเพิ่มความสามารถในการถ่ายเทความร้อนของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน ทำโดยการใช้เทคนิค Electrohydrodynamic (EHD) หรือ การใส่สนามไฟฟ้าให้ไหลผ่านของไหล (สารทำความเย็น) ในขณะที่สารทำความเย็นเกิดการควบแน่น และขณะที่สารทำความเย็นกำลังเดือด ซึ่งในการทดลองนี้ใช้สนามไฟฟ้าประมาณ 2500 โวลต์ และใช้กระแสไฟฟ้าประมาณ 0.05 มิลลิโวลต์ เพื่อกระตุ้นสารทำความเย็นให้เกิดความปั่นป่วนขึ้น จากการวิจัยพบว่าเทคนิคนี้สามารถเพิ่มสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนให้กับเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นได้ประมาณ 10-20% ทั้งนี้สารทำความเย็นที่ใช้ในการงานวิจัยครั้งนี้ได้เลือกใช้สาร R-134a ซึ่งเป็นสารทำความเย็นที่ปราศจากสาร CFC"
       
       นอกจากนี้ นายสุริยัน ยังได้ทำการศึกษาการเพิ่มความสามารถในการถ่ายเทความร้อนของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน โดยการปรับปรุงลักษณะท่อแอร์ จากเดิมที่เป็นท่อที่มีพื้นผิวเรียบเป็นท่อที่มีร่องเกลียว (Corrugated tube) ทั้งในส่วนของคอนเดนเซอร์ และอีวาโปเรเตอร์ ซึ่งจากการศึกษานี้พบว่าสามารถเพิ่มความสามารถของการแลกเปลี่ยนความร้อนในสารทำความเย็นได้มากขึ้น
       
       สุริยัน กล่าวว่า ทั้ง 2 วิธีนี้จะเพิ่มสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนประมาณ 10-20% ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานลงได้ หากงานวิจัยทั้ง 2 นี้ สามารถเชื่อมต่อกับภาคอุตสาหกรรมที่ผลิตเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นได้จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างยิ่ง "เนื่องจากประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น และส่งออกเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นเป็นอันดับต้นๆของโลก ดังนั้นไม่เพียงแต่จะช่วยลดการใช้พลังงานภายในประเทศเท่านั้น แต่ยังช่วยลดการใช้พลังงานไปได้ทั่วโลก เมื่อทั่วโลกสามารถลดการใช้พลังงานในส่วนของเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นได้ ก็เท่ากับเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนไปได้อีกทางหนึ่งด้วยเช่นเดียวกัน"
เกลียดพวกหมิ่นเบื้องบนและเผาบ้านเผาเมือง